เราขอร่วมแสดงความเสียใจ หากท่านได้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่เคารพรัก
" ด้วยความจริงใจ " ผลงานของเรา
วางแผนการจัดงานศพอย่างชาญฉลาด และมีเอกลักษณ์
สร้างความทรงจำ และเกียรติยศอันทรงคุณค่า
ร้านพวงหรีดออนไลน์ จัดส่งพวงหรีดถึงวัด
พวงหรีดดอกไม้ สวยงาม บริการดี มีรีวิวลูกค้ามากมาย หรีดณวัด จัดส่งถึงศาลาวัด มีรูปหลังจัดส่ง สั่งออนไลน์ได้เลย ส่งฟรี ส่งเร็ว ตรงเวลา ถ่ายรูปสินค้าหลังจัดส่ง รับจัดส่งในนามองค์กร ผลงานของเรา
พวงหรีด
พวงหรีดดอกไม้สด
ร้านพวงหรีด
พวงหรีดราคา
ร้านพวงหรีดใกล้ฉัน
ราคาพวงหรีด
สั่งพวงหรีด
บริการจัดส่งพวงหรีด
ร้านพวงหรีดออนไลน์
ส่งพวงหรีดฟรีถึงศาลาวัด
ติดต่อสอบถาม
หรีด (อังกฤษ: wreath) เป็นดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย ใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น เคารพศพ ประดับตกแต่ง หรือทำเป็นมงคล (เครื่องสวมศีรษะ)
เนื้อหา
ต้นกำเนิด
หรีดทองใช้เป็นมงคล (เครื่องสวมศีรษะ) อายุราวกลางปีที่ 400 ก่อนคริสตกาล
พวงหรีดมีต้นกำเนิดตั้งแต่สมัยอารยธรรมอีทรัสคันในแถบทวีปยุโรปตอนใต้[1] จากการพบมงกุฎทองสำหรับนักรบเมื่อเวลาออกรบเพื่อเป็นเกียรติยศโดยแกะเป็นลายใบไม้และดอกไม้ อายุราว 400 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคโรมันโบราณมีการใช้หรีดมาประดับศีรษะ โดยเรียกว่า ลอเรลหรีธ (laurel wreath) โดยใช้ใบไม้สานกัน
ในประเทศไทย
อารยธรรมตะวันตกเริ่มแพร่หลายอย่างมากในยุคล่าอาณานิคม หรือในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการรับเอาอารยธรรมตะวันตกหลายอย่างเข้ามาในประเทศไทย โดยปรากฏหลักฐานภาพถ่ายการนำดอกไม้หลากหลายชนิดมาตกแต่งเป็นพวงกลมคล้ายพวงหรีดครั้งแรก ในพระเมรุของสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา หรือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 ในพ.ศ. 2447 ด้วยเหตุนี้เองทำให้คาดการณ์ได้ว่าพวงหรีดได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยและใช้เป็นสื่อแทนความโศกเศร้าตั้งแต่สมัยนั้น[2]
ชนิดของพวงหรีด
ในปัจจุบันพวงหรีดนอกจากพวงหรีดที่ทำมาจากดอกไม้สดแล้ว ยังมีพวงหรีดแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาอีกหลายชนิด เช่น พวงหรีดดอกไม้สด พวงหรีดดอกไม้แห้งหรือดอกไม้ประดิษฐ์ พวงหรีดผ้าชนิดต่าง ๆ พวงหรีดพัดลม พวงหรีดต้นไม้ (ส่วนมากนิยมเป็นต้นโมกเพราะเป็นต้นไม้มงคล) พวงหรีดนาฬิกา และพวงหรีดหนังสือ เป็นต้น โดยจุดประสงค์ของพวงหรีดชนิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาเพราะ สมัยก่อนคนนิยมสั่งพวงหรีดดอกไม้สด โดยเฉพาะงานศพของผู้มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก ก็มักจะได้พวงหรีดมาก บางครั้งก็เต็มจนล้นศาลาวัด ทำให้บางครั้งเป็นภาระของทางวัดที่ต้องเป็นผู้จัดการพวงหรีดที่ใช้แล้ว จึงมีคนเสนอให้มีการใช้พวงหรีดชนิดใหม่ ๆ เช่น พวงหรีดผ้า พวงหรีดพัดลม ซึ่งเมื่อใช้แล้วก็เหมือนเราบริจาคผ้าหรือพัดลมให้วัด ทางวัดก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ไม่ต้องนำไปทิ้งเหมือนพวงหรีดดอกไม้สด หรือพวงหรีดที่เป็นต้นไม้ซึ่งโดยส่วนมากนิยมเป็นต้นโมก เพราะเป็นต้นไม้มงคล ทางวัดก็จะสามารถนำไปปลูกต่อไป ช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้
ปัจจุบัน ดอกไม้สด 10 ชนิดที่นิยมนำมาจัดพวงหรีด ได้แก่ ดอกมัม, ดอกสแตติส, ดอกเยอบีร่า, ดอกกล้วยไม้, ดอกลิลลี่, ดอกคาร์เนชั่น, ดอกไฮเดรนเยีย, ดอกกุหลาบ, ดอกหน้าวัว และ ดอกแคสเปีย[3]
การสั่งพวงหรีดในยุคปัจจุบัน
ในสมัยก่อนหากคนต้องการจะไปงานศพ ก็มักจะไปสั่งพวงหรีดเอาที่ร้านพวงหรีดซึ่งโดยมากตั้งอยู่ตามข้างวัด โดยเฉพาะวัดดัง ๆ ซึ่งมีจัดงานศพบ่อย เป็นประจำ แต่เนื่องจากในปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนไป บางคนต้องทำงานจนดึกกว่าจะเลิกงานก็ไปสั่งพวงหรีดไม่ทันเพราะต้องเจอปัญหารถติดหลังเลิกงาน หรือบางบริษัทก็ต้องส่งพวงหรีดไปงานศพของญาติลูกน้องแต่ไม่มีเวลาไปร้านพวงหรีดเนื่องจากไม่ได้ไปงานศพเองหรืองานศพจัดที่ต่างจังหวัด เป็นต้น ทำให้ปัจจุบันมีการสั่งพวงหรีดออนไลน์เกิดขึ้น [4] ตามยุคสมัยที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและเจริญขึ้น ซึ่งก็ได้รับความนิยมและสามารถอำนวยความสะดวกได้อย่างมาก
จุดเริ่มต้นของพวงหรีด
พวงหรีดนั้นมีต้นกำเนินในแถบทวีปยุโรปตอนใต้ตั้งแต่สมัยอารยธรรมอีทรัส โดยเริ่มจากการค้นพบมงกุฎทองสำหรับสวมใส่ของนักรบเวลาออกรบเพื่อแสดงถึงเกียรติยศ โดยลวดลายส่วนใหญ่จะเป็นลายใบไม้และดอกไม้ ต่อมาในยุคโรมันก็ได้มีการนำหรีดมาประดับบนศีรษะ ซึ่งถูกเรียกว่า ลอเรลฟรีธ (laurel wreath) เป็นการนำใบไม้มาสานกัน
พวงหรีดเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร
สำหรับการเข้ามาของพวงหรีดในประเทศไทยนั้นเริ่มขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 นั่นเอง ซึ่งในยุคนั้นเป็นยุคที่อารยธรรมตะวันตกเริ่มแพร่หลายเนื่องจากเป็นยุคล่าอาณานิคม แน่นอนว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ของเราได้เปิดรับอารยธรรมนี้เข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยหลักฐานที่ปรากฎให้ได้ทราบกันคือภาพถ่ายดอกไม้หลากหลายชนิดมาตกแต่งเป็นพวงกลมๆ คล้ายพวงหรีดในพระเมรุของสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา หรือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 เมื่อพ.ศ. 2447 นั่นเอง จึงทำให้คาดการณ์ได้ว่าพวงหรีดได้เข้ามาสู่ประเทศไทยแล้ว ซึ่งมีการเริ่มใช้พวงหรีดในงานศพของเหล่าชนชั้นสูง จากนั้นชนชั้นกลางและชนชั้นล่างก็เริ่มที่จะใช้พวงหรีดกันในงานศพเรื่อยมา
ความเชื่อเกี่ยวกับพวงหรีด
หากพูดถึงความเชื่อเกี่ยวกับพวงหรีดในประเทศไทยแล้ว คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดถึง การห้ามนำพวงหรีดเข้ามาในบ้านนั่นเอง เรียกว่าเป็นความเชื่อที่ผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยนั้นใช้พวงหรีดในการแสดงถึงความโศกเศร้าและมอบให้กับผู้ที่ล่วงลับเพื่อแสดงความเคารพ เพราะฉะนั้นผู้หลักผู้ใหญ่จึงมักจะถือกันว่าไม่ควรนำเข้าบ้านมา ไม่อย่างนั้นจะเกิดเรื่องร้ายๆ ขึ้น
พวงหรีดชนิดต่างๆ
พวงหรีดที่เรามักจะเห็นกันนั้นจะเป็นพวงหรีดดอกไม้สดสีต่างๆ ที่ถูกจัดเรียงเป็นวงกลมอย่างสวยงามและถูกนำมาติดตั้งไว้ภายในและภายนอกของงานศพ หากแต่วัดนั้นไม่สามารถที่จะกำจัดพวงหรีดหลังจบงานให้หมดไปได้ บางวัดก็มีพวงหรีดล้นจนก่อให้เกิดปัญหา ทั้งนี้ร้านค้าพวงหรีดต่างๆ จึงเริ่มที่จะประยุกต์และผลิตพวงหรีดชนิดอื่นๆ นอกจากพวงหรีดดอกไม้กันนั่นเอง ตัวอย่างเช่น พวงหรีดผ้าแพร พวงหรีดนาฬิกา หรือที่นิยมกันในสมัยนี้มากขึ้นก็คือพวงหรีดพัดลมนั่นเอง
สำหรับพวงหรีดพัดลมนั้นเรียกได้ว่าเหมือนเป็นการทำบุญก็ว่าได้ เพราะนอกจากเราจะได้แสดงความเคารพต่อศพตามธรรมเนียมแล้ว เมื่อจบงานทางวัดยังสามารถนำพัดลมไปใช้งานต่อได้อีกด้วย อย่างเช่นร้าน บุญมาพวงหรีดพัดลม ก็เป็นร้านพวงหรีดพัดลมที่นำพัดลมคุณภาพดีอย่างแบรนด์ฮาตาริมาประดับด้วยดอกไม้สวยงาม ซึ่งทางร้านจะนำรายได้ส่วนหนึ่งมาทำประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย เรียกว่าเป็นร้านที่น่าสนใจร้านหนึ่งเลยทีเดียว