พระราชพิธีบรมราชาภิเษก มรดกทางวัฒนธรรมของแผ่นดิน
หมวดหมู่สินค้า: A295 รับจัดงานพิธี
03 มีนาคม 2565
ผู้ชม 191 ผู้ชม
รับจัดพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์ ทำบุญบ้าน บริษัท ทำบุญเลี้ยงพระ จัดเครื่องไหว้ จัดบวงสรวง บายศรี ตั้งศาลพระภูมิ เสาหลัก ถอนศาลวางศิลาฤกษ์ ปรับฮวงจุ้ยบ้าน ดอกไม้หน้าศพ หน้าเมรุ ซุ้มดอกไม้งานแต่ง ผลงานของเรา
ทำบุญบริษัท
ตั้ง/รื้อศาลพระภูมิ
วางศิลาฤกษ์
ปรับฮวงจุ้ยบ้าน
รับทำบายศรี
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 คนไทยส่วนใหญ่คงไม่มีโอกาสได้เห็น หรือมีส่วนร่วมกับพิธีบรมราชาภิเษกที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่สำคัญพระราชพิธีนี้ไม่เพียงเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ซึ่งสะท้อนถึงวัฒนธรรมอันวิจิตรงดงามและยังคงเอกลักษณ์ความเป็นไทย แต่ยังเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงถึงการเข้ารับตำแหน่งพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 นี้ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ประชาชนชาวไทยจะได้มีส่วนร่วมในงานพระราชพิธีครั้งประวัติศาสตร์
BOT พระสยาม MAGAZINE ได้รับความกรุณาจาก ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการฝ่ายจัดพิธีการงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มาฉายภาพถึงที่มา ความสำคัญ และการสืบสานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่มีมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลจวบจนปัจจุบัน
ความสำคัญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
คำว่า “บรมราชาภิเษก” มาจากคำว่า “บรม” หรือ “ปะระมะ” แปลว่า ยิ่งใหญ่ สมาสกับคำว่า “ราชะ” แปลว่า พระมหากษัตริย์และสนธิกับคำว่า “อภิเษก” แปลว่า รดน้ำ เมื่อรวมกันก็คือ การรดน้ำถวายพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งในสมัยอยุธยาไม่เรียกว่า “บรมราชาภิเษก” เรียกว่า “ราชาภิเษก” เท่านั้น แล้วภายหลังมีการเพิ่มคำว่า “บรม” เข้ามา
ความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ข้อที่หนึ่ง เป็นการดำเนินการตามโบราณราชประเพณี หรือพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามามีอิทธิพลในทวีปเอเชีย ผ่านทางลังกาเข้าพม่า ลาว ไทย กัมพูชา พิธีบรมราชาภิเษก หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Coronation นั้น เป็นพิธีที่มีในทุกประเทศที่มีพระเจ้าแผ่นดินแม้แต่ประเทศในฝั่งยุโรปที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาคริสต์ ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี ในอดีต หรือสเปนในปัจจุบันจะมีสังฆราชบาทหลวงมาทำพิธี และบางประเทศเป็นผู้สวมมงกุฎให้พระเจ้าแผ่นดิน ความสำคัญข้อที่สอง เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเข้ารับตำแหน่งพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี ไม่ใช่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
การขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทยที่ผ่านมาจะมีขั้นตอน 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่ง ขั้นตอนรับพระราชสมบัติ การที่พระองค์ทรงยอมรับพระราชสมบัติและขึ้นครองราชย์ เพียงเท่านี้ก็สมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ สมบูรณ์ทั้งพฤตินัยและนิตินัย สามารถลงพระนามในเอกสารทุกอย่าง มีพระราชสิทธิและพระราชอำนาจเต็ม ไม่มีลดหย่อนผ่อนอะไรเลย อย่างไรก็ดี ประเทศไทยรับคตินิยมมาจากศาสนาพราหมณ์ เราจึงมีพิธีในขั้นตอนที่สอง คือ การบรมราชาภิเษก เป็นขั้นตอนตามโบราณราชประเพณี ซึ่งจะมีหรือไม่ ก็ไม่กระทบกับการเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ เพราะสมบูรณ์ในขั้นตอนที่หนึ่งอยู่แล้ว
พระมหากษัตริย์ที่ไม่เคยผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
รัชกาลที่ 8 แม้ไม่เคยผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็ถือว่าเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ พระองค์ทรงรับราชสมบัติขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 ในขณะที่มีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา ทรงมีพระราชอำนาจเต็ม แต่เนื่องจากทรงพระเยาว์และยังประทับอยู่ต่างประเทศ จึงมีผู้สำเร็จราชการทำหน้าที่แทน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2488 ทรงเสด็จนิวัติพระนคร แต่เนื่องจากสงครามเพิ่งจบ ภาวะเศรษฐกิจไม่สู้ดีรัฐบาลไม่มีความพร้อม และต้องกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงไม่มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในคราวเสด็จกลับครั้งนั้น และในปีรุ่งขึ้น ก่อนเสด็จกลับก็เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 8 จึงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ครองราชย์ 12 ปี โดยไม่มีพิธีบรมราชาภิเษก แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะไปลดพระเกียรติยศลงได้
พระมหากษัตริย์ที่ผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมากกว่า 1 ครั้ง
พระมหากษัตริย์พระองค์อื่นทรงมีโอกาสและมีเวลาจึงผ่านทั้ง 2 ขั้นตอน บางรัชกาลทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกถึง 2 ครั้ง
รัชกาลที่ 1 มีพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง เมื่อพระองค์ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2325 ซึ่งขณะนั้น บ้านเมืองยังไม่เรียบร้อย พระราชวังยังไม่สร้าง เครื่องใช้ไม้สอยก็มีไม่พอ แต่หลังจากพระองค์ทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก นอกจากงานเตรียมพระราชวังและเครื่องใช้ไม้สอยแล้ว พระองค์ได้สืบหาพราหมณ์และผู้รู้ธรรมเนียมต่างๆ โดยบุคคลสำคัญที่ช่วยพระราชพิธีในครั้งนั้น คือ เจ้าฟ้าพินทวดี ซึ่งเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดราชประเพณีในราชสำนักฝ่ายในตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และทรงโปรดให้เจ้าพระยาเพชรพิชัยเป็นผู้จดบันทึก จนกระทั่งทำเป็นตำราได้หนึ่งเล่มชื่อ “ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยาสำหรับหอหลวง” ซึ่งได้ใช้เป็นแบบแผนสืบมา หนึ่งในเรื่องที่น่าอัศจรรย์คือ ในระหว่างรอพิธีบรมราชาภิเษกครั้งใหม่ ชาวบ้านไปทอดแหที่ทะเลสาบในประเทศเขมร (สมัยนั้นยังเป็นของไทย) ได้พระขรรค์ที่พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ กษัตริย์เขมรใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อมีผู้นำมาถวาย รัชกาลที่ 1 ทรงโสมนัสยิ่ง และทรงนำพระขรรค์นี้มาใส่ฝักไม้หุ้มทองคำจำหลักลวดลายลงยาราชาวดี และใช้พระขรรค์นี้ในพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2328
รัชกาลที่ 5 ทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก พ.ศ. 2411 เมื่อพระชนมพรรษา 15 ปี หลังจากรัชกาลที่ 4 เสด็จสวรรคตไม่กี่วัน พิธีครั้งนั้นจึงทำแค่พอประมาณ เพราะขณะนั้นอยู่ในช่วงทุกข์โศก และพระองค์ยังทรงมีพระชนมายุน้อย อีกทั้งในช่วงนั้นพระองค์ทรงประชวรหนัก หลังจากนั้น ปี พ.ศ. 2416 เมื่อมีพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงผนวชตามประเพณี ซึ่งถือว่าบรรลุนิติภาวะเป็นผู้ใหญ่แล้ว จึงทรงจัดให้มีพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2
รัชกาลที่ 6 ในช่วงพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงสงคราม หลังจากนั้นหนึ่งปี พระองค์ทรงมีพระวินิจฉัยว่าควรจัดพิธีอีกครั้งให้ยิ่งใหญ่ เพื่อแสดงศักดานุภาพให้ปรากฏแก่นานาประเทศว่า ไทยมีประเพณีอันเป็นอารยะ จึงทรงจัดพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชซึ่งเป็นพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 โดยทรงเชิญผู้นำจากนานาประเทศและมีแขกมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ในการดำเนินการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้มีคณะกรรมการใหญ่หนึ่งชุด ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานและที่ปรึกษา โดยมีคณะกรรมการอีก 5 คณะ โดยงานพระราชพิธีครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง พระราชพิธีเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย
พระราชพิธีเบื้องต้น เป็นขั้นตอนการตระเตรียมงาน
เริ่มวันแรกในวันที่ 6 เมษายน ซึ่งเป็นวันจักรี เป็นวันเตรียมน้ำที่จะนำมาใช้ในพระราชพิธี นับตั้งแต่สมัยอยุธยา น้ำจะมาจากหลายแหล่ง แหล่งแรก คือ “เบญจสุทธคงคา” แปลว่าแม่น้ำบริสุทธิ์ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำราชบุรี และแม่น้ำเพชรบุรี แหล่งที่สอง คือ จากสระศักดิ์สิทธิ์ 4 สระที่จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งขุดมาตั้งแต่โบราณ ได้แก่ สระเกษ สระแก้ว สระคา และสระยมนา แหล่งที่สาม คือ น้ำจากเมืองต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 9 นำมาจากหัวเมือง 18 แห่ง แต่ในรัชกาลที่ 10 ทรงให้ทุกจังหวัดมีส่วนร่วม ซึ่งในบางจังหวัดมีแหล่งน้ำ 2 จุด บางจังหวัดมี 3 จุด สูงสุดคือ 6 จุด สำหรับกรุงเทพฯ จะนำน้ำศักดิ์สิทธิ์จากหอศาสตราคมในพระบรมมหาราชวังมาร่วมในพิธีด้วย รวมทั้งหมด 108 แห่ง นอกจากนี้ ก่อนตักน้ำจะมีพิธีพลีกรรม หรือพิธีบวงสรวงเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณหน้าแหล่งน้ำนั้น ๆ
วันที่ 8-9 เมษายน จะนำน้ำทั้งหมดไปประดิษฐานไว้ที่วัดศักดิ์สิทธิ์โบราณในเมืองนั้น ๆ
วันที่ 18-19 เมษายน จะเชิญน้ำจากทุกแหล่งเข้ามาที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วันที่ 22-23 เมษายน เป็นพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระปรมาภิไธยในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยวิธีจารึก อาลักษณ์จะใช้เหล็กแหลมแกะพระนามพระเจ้าแผ่นดินที่จะตั้งขึ้นใหม่ลงบนแผ่นทองคำแผ่นดวงพระราชสมภพ (วันเกิด) และพระราชลัญจกรประจำรัชกาล ซึ่งใช้เป็นดวงตราประทับกำกับพระปรมาภิไธย และเอกสารราชการแผ่นดิน
วันที่ 3 พฤษภาคม จะมีพิธีสำคัญคือ การประกาศการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งพระราชาคณะผู้ใหญ่ชั้นสมเด็จหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ เป็นผู้อ่านบทชุมนุมเทวดา และประกาศเรื่องการสถาปนากษัตริย์เพื่อให้เทพยดาฟ้าดินได้รับรู้ ซึ่งพิธีนี้ทำมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
พระราชพิธีเบื้องกลาง หรือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม
วันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันสำคัญที่สุด เรียกวาวันบรมราชาภิเษก ตามพระฤกษ์ที่กำหนดไว้ ช่วงเช้า มีพิธีสำคัญเป็นลำดับไป
พิธีถวายสิริราชสมบัติ
เมื่อสรงมุรธาภิเษกเสร็จแล้ว จะเสด็จออกจากมณฑปพระกระยาสนานไปยังหอพระสุลาลัยพิมาน ซึ่งเป็นหอพระเก็บพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเปลี่ยนฉลองพระองค์เป็นเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์หมายถึง เครื่องทรงเต็มยศพระเจ้าแผ่นดิน ขาดแต่พระมงกุฎ และเสด็จเข้าพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประทับพระราชอาสน์ที่มีชื่อว่า พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ แปลว่า แท่นที่นั่งที่มีแปดมุมแปดเหลี่ยมทำจากไม้มะเดื่อ ซึ่งโบราณถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ แล้วแต่พระองค์จะเสด็จประทับมุมหนึ่งมุมใดหรือทิศใดทิศหนึ่ง โดยแต่ละทิศจะสะท้อนความศิริสวัสดิมงคลด้านต่าง ๆ และในแต่ละทิศจะมีผู้รอถวายน้ำอภิเษก แล้วทรงเวียนไปจนครบแปดทิศ แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งภัทรบิฐ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ขั้นตอนที่พระที่นั่งนี้สำคัญมากเพราะเมื่อเสร็จจากขั้นตอนนี้ พระองค์จะเปลี่ยนจาก “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เป็น “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
เมื่อพระองค์เสด็จประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ พราหมณ์จะเข้าไปถวายพระราชสมบัติ เริ่มจากถวายพระสุพรรณบัฏ ต่อมาคือ พระมหาสังวาลที่ใช้มาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ตามด้วยการถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
ความหมายที่ลึกซึ้งของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ เป็นสิ่งที่มีความหมายแยบคาย เพื่อให้กษัตริย์พระองค์ใหม่ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่ออาณาประชาราษฎร์ กล่าวคือ
พระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งหนักถึง 7.3 กิโลกรัม เพื่อบอกให้รู้ว่าการเป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้นต้องทรงรับพระราชภาระที่หนักยิ่ง เสมือนหนึ่งต้องทรงพระมหามงกุฎไว้บนพระเศียร
พระแสงขรรค์ชัยศรี เพื่อบอกว่าพระแสงขรรค์ตัดอะไร เป็นเส้นตรงหมด ไม่เคยคด จึงต้องทรงตัดสินคดีทั้งหลายอย่างเที่ยงธรรม
ธารพระกร เพื่อบอกว่าคนเราจะเดินไปข้างหน้าได้ต้องมีหลักยึด เสมือนหนึ่งมีไม้เท้า ไม่เช่นนั้นจะซวนเซง่าย
วาลวิชนี เพื่อบอกว่าพระเจ้าแผ่นดิน คือ ผู้บำบัดทุกข์บำรุงสุข ขจัดปัดเป่าภยันตราย ความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน เสมือนหนึ่ง การใช้แส้และพัด
ฉลองพระบาทเชิงงอน เพื่อบอกว่าถ้าพระองค์เสด็จไปทางใดไม่ใส่รองเท้าก็จะถูกหนามตำ ถ้ามีรองเท้าจะเดินสบาย พสกนิกรทั้งหลายเปรียบเสมือนแผ่นดินและฉลองพระบาท ไม่ให้มีภยันตรายใด ๆ จึงมีหน้าที่ต้องรักษารองเท้าคู่นี้ให้ดี ต้องทะนุบำรุงรักษาประชาชน เพราะเป็นผู้รองรับพระองค์ไว้
ต่อจากนั้นจะถวายพระแสงราชศาสตราวุธ และพระแสงอื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็นของที่เราเรียนมาตั้งแต่เด็ก เช่น พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง พระแสงดาบคาบค่าย พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย รวมกับพระแสงอื่นที่เป็นเครื่องใช้ของพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นสิริมงคล
หลังจากถวายครบถือว่าพิธีถวายสิริราชสมบัติเสร็จสิ้น พราหมณ์จะพูดประโยคสำคัญแปลเป็นไทยว่า “ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม บัดนี้ พระองค์ทรงรับราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยสมบูรณ์แล้ว ขอได้มีพระปฐมบรมราชโองการ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ”
ประโยคที่พราหมณ์กล่าว มีความสำคัญ 3 ประการ คือ หนึ่ง เป็นครั้งแรกที่เราจะใช้คำว่า “ขอเดชะ” กับพระองค์ ทุกวันนี้ยังใช้ไม่ได้ สอง เราจะเริ่มเรียกพระองค์ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” นับแต่นาทีนั้นเป็นต้นไป สาม คำพูดของพระองค์จะเป็น “พระบรมราชโองการ” จากเดิมที่เป็นพระราชโองการ ซึ่งคำสามคำนี้สงวนไว้ใช้กับพระมหากษัตริย์ที่ผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเท่านั้น
จากนั้นตอนบ่าย เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และเสด็จประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ทรงรับการถวายพระพรจากพระบรมวงศานุวงศ์ คณะรัฐมนตรี ข้าราชการผู้ใหญ่ และมีพระราชดำรัสตอบ ถือเป็นการว่าราชการครั้งแรก
ตอนเย็นเสด็จไปวัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยขบวนราบใหญ่ ขึ้นบนเสลี่ยงคานหาม เพื่อไปนมัสการพระแก้วมรกต และปฏิญาณพระองค์ต่อหน้าคณะสงฆ์ว่า จะทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภกตามโบราณราชประเพณี เหมือนดังที่รัชกาลที่ 1 ทรงเคยตรัสไว้ว่า “ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี”
ช่วงค่ำ มีพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรพระมหากษัตริย์จะเสด็จขึ้นประทับ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ซึ่งเปรียบเสมือนการขึ้นบ้านใหม่ การทำพิธีจะมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และในหลวงทรงเอนพระองค์ลงบรรทมเป็นปฐมฤกษ์เหนือพระแท่นราชบรรจถรณ์ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้มาทุกรัชกาล เดิมพระเจ้าแผ่นดินจะประทับที่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานจนสิ้นรัชกาล แต่ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินจะประทับหนึ่งราตรี โดยรัชกาลที่ 9ทรงประทับแรมอยู่คืนหนึ่ง เป็นการจบพิธีของ วันที่ 4 พฤษภาคม และวันที่ 4 พฤษภาคมปีหน้าจะเป็น “วันฉัตรมงคล” แต่ปีนี้ยังไม่เรียกวันฉัตรมงคล เพราะ “ฉัตรมงคล” แปลว่าวันที่ระลึกคล้ายวันที่ทรงรับเศวตฉัตร
วันที่ 5 พฤษภาคม ตอนเช้า ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ มีพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศานุวงศ์ ต่อจากนั้นเวลา 16.30 น. จะเป็นพิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เรียกสั้น ๆ ว่า “เลียบพระนคร” เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์ได้เฝ้าชมพระบารมี
การเสด็จพยุหยาตราทางสถลมารค
การเลียบพระนครครั้งนี้มีระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้เวลาในขบวนประมาณ 3 ชั่วโมง โดยประทับพระราชยานพุดตานทองเสด็จจากพระบรมมหาราชวังไปยังอารามหลวง 3 แห่ง คือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดละ 30 นาที รวมเป็น 4 ชั่วโมงครึ่ง
จุดที่ขบวนไปหยุดหน้าวัดจะมีแท่น เรียกว่า “เกย” ซึ่งเมืองไทยจะมีอยู่ที่วัดบวรฯ วัดราชบพิธฯ และวัดพระเชตุพนฯ เพื่อนมัสการพระประธาน และพระบรมราชสรีรางคาร ดังนั้น วัดที่มีเกย ก็คือวัดที่พระมหากษัตริย์เสด็จโดยขบวนพยุหยาตราบ่อย ๆ
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 พระองค์ไม่ได้เสด็จเลียบพระนครทันที เนื่องด้วยต้องเสด็จกลับต่างประเทศ พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จเลียบพระนคร เมื่อครั้งมีพระราชพิธีรัชดาภิเษก เพื่อเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ ครบ 25 ปี และเสด็จวัดบวรฯ เพียงแห่งเดียว
การเสด็จออกสีหบัญชร
วันที่ 6 พฤษภาคม วันสุดท้ายของพระราชพิธีเบื้องกลางจะมีพิธีสำคัญตอน 16.30 น. คือ การเสด็จ ณ สีหบัญชรของพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท พสกนิกรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล จากนั้น จะเสด็จออก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท คณะทูตานุฑูตและกงสุลต่างประเทศเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล
การเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค
พระราชพิธีเบื้องปลาย คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนตุลาคม มีขบวนเรือทั้งหมด 52 ลำ เต็มยศสูงสุด เสด็จออกจากท่าวาสุกรี ไปยังวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน
น้อมใจภักดิ์ ราชสดุดี
สุดท้ายนี้ ดร.วิษณุ แนะนำว่าประชาชนสามารถรอเฝ้ารับเสด็จได้ตลอดสองข้างทางในวันที่ 5 พฤษภาคม ขณะเสด็จเลียบพระนคร และวันที่ 6 พฤษภาคม ขณะเสด็จออกสีหบัญชร เป็นธรรมเนียมเสด็จออกให้ประชาชนเฝ้าชมพระบารมี ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ทั้งนี้อยากเชิญชวนให้ประชาชนแต่งกายด้วยชุดสีเหลือง ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนกรกฎาคมเป็นเวลา 4 เดือน และอยากชวนเชิญประชาชนติดเข็มสัญลักษณ์ตราพระราชพิธีไว้ที่อกเสื้อด้วย
และนี่คือแง่มุมด้านประวัติศาสตร์ของงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีแห่งพระมหากษัตริย์ที่มีการสืบสานมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของแผ่นดิน และมีความสำคัญยิ่ง เพราะการประกอบพิธีแต่ละขั้นตอนแฝงด้วยความศักดิ์สิทธิ์และแสดงถึงการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
ศาลพระภูมิเชียงราย
ศาลพระภูมิเชียงใหม่
ศาลพระภูมิน่าน
ศาลพระภูมิพะเยา
ศาลพระภูมิแพร่
ศาลพระภูมิแม่ฮ่องสอน
ศาลพระภูมิลำปาง
ศาลพระภูมิลำพูน
ศาลพระภูมิอุตรดิตถ์
ศาลพระภูมิกาฬสินธุ์
ศาลพระภูมิขอนแก่น
ศาลพระภูมิชัยภูมิ
ศาลพระภูมินครพนม
ศาลพระภูมินครราชสีมา
ศาลพระภูมิบึงกาฬ
ศาลพระภูมิบุรีรัมย์
ศาลพระภูมิมหาสารคาม
ศาลพระภูมิมุกดาหาร
ศาลพระภูมิยโสธร
ศาลพระภูมิร้อยเอ็ด
ศาลพระภูมิเลย
ศาลพระภูมิสกลนคร
ศาลพระภูมิสุรินทร์
ศาลพระภูมิศรีสะเกษ
ศาลพระภูมิหนองคาย
ศาลพระภูมิหนองบัวลำภู
ศาลพระภูมิอุดรธานี
ศาลพระภูมิอุบลราชธานี
ศาลพระภูมิอำนาจเจริญ
ศาลพระภูมิกำแพงเพชร
ศาลพระภูมิชัยนาท
ศาลพระภูมินครนายก
ศาลพระภูมินครปฐม
ศาลพระภูมินครสวรรค์
ศาลพระภูมินนทบุรี
ศาลพระภูมิปทุมธานี
ศาลพระภูมิพระนครศรีอยุธยา
ศาลพระภูมิพิจิตร
ศาลพระภูมิพิษณุโลก
ศาลพระภูมิเพชรบูรณ์
ศาลพระภูมิลพบุรี
ศาลพระภูมิสมุทรปราการ
ศาลพระภูมิสมุทรสงคราม
ศาลพระภูมิสมุทรสาคร
ศาลพระภูมิสิงห์บุรี
ศาลพระภูมิสุโขทัย
ศาลพระภูมิสุพรรณบุรี
ศาลพระภูมิสระบุรี
ศาลพระภูมิอ่างทอง
ศาลพระภูมิอุทัยธานี
ศาลพระภูมิจันทบุรี
ศาลพระภูมิฉะเชิงเทรา
ศาลพระภูมิชลบุรี
ศาลพระภูมิตราด
ศาลพระภูมิปราจีนบุรี
ศาลพระภูมิระยอง
ศาลพระภูมิสระแก้ว
ศาลพระภูมิกาญจนบุรี
ศาลพระภูมิตาก
ศาลพระภูมิประจวบคีรีขันธ์
ศาลพระภูมิเพชรบุรี
ศาลพระภูมิราชบุรี
ศาลพระภูมิกระบี่
ศาลพระภูมิชุมพร
ศาลพระภูมิตรัง
ศาลพระภูมินครศรีธรรมราช
ศาลพระภูมินราธิวาส
ศาลพระภูมิปัตตานี
ศาลพระภูมิพังงา
ศาลพระภูมิพัทลุง
ศาลพระภูมิภูเก็ต
ศาลพระภูมิระนอง
ศาลพระภูมิสตูล
ศาลพระภูมิสงขลา
ศาลพระภูมิสุราษฎร์ธานี
ศาลพระภูมิยะลา
ศาลพระภูมิกรุงเทพมหานคร
ศาลพระภูมิคลองสาน
ศาลพระภูมิคลองสามวา
ศาลพระภูมิคลองเตย
ศาลพระภูมิคันนายาว
ศาลพระภูมิจอมทอง
ศาลพระภูมิดอนเมือง
ศาลพระภูมิดินแดง
ศาลพระภูมิดุสิต
ศาลพระภูมิตลิ่งชัน
ศาลพระภูมิทวีวัฒนา
ศาลพระภูมิทุ่งครุ
ศาลพระภูมิธนบุรี
ศาลพระภูมิบางกอกน้อย
ศาลพระภูมิบางกอกใหญ่
ศาลพระภูมิบางกะปิ
ศาลพระภูมิบางคอแหลม
ศาลพระภูมิบางซื่อ
ศาลพระภูมิบางนา
ศาลพระภูมิบางพลัด
ศาลพระภูมิบางรัก
ศาลพระภูมิบางเขน
ศาลพระภูมิบางแค
ศาลพระภูมิบึงกุ่ม
ศาลพระภูมิปทุมวัน
ศาลพระภูมิประเวศ
ศาลพระภูมิป้อมปราบศัตรูพ่าย
ศาลพระภูมิพญาไท
ศาลพระภูมิพระนคร
ศาลพระภูมิพระโขนง
ศาลพระภูมิภาษีเจริญ
ศาลพระภูมิมีนบุรี
ศาลพระภูมิยานนาวา
ศาลพระภูมิราชเทวี
ศาลพระภูมิราษฎร์บูรณะ
ศาลพระภูมิลาดกระบัง
ศาลพระภูมิลาดพร้าว
ศาลพระภูมิวังทองหลาง
ศาลพระภูมิวัฒนา
ศาลพระภูมิสวนหลวง
ศาลพระภูมิสะพานสูง
ศาลพระภูมิสัมพันธวงศ์
ศาลพระภูมิสาทร
ศาลพระภูมิสายไหม
ศาลพระภูมิหนองจอก
ศาลพระภูมิหนองแขม
ศาลพระภูมิหลักสี่
ศาลพระภูมิห้วยขวาง
ศาลพระภูมิเมืองนครปฐม
ศาลพระภูมิกำแพงแสน
ศาลพระภูมิดอนตูม
ศาลพระภูมินครชัยศรี
ศาลพระภูมิบางเลน
ศาลพระภูมิพุทธมณฑล
ศาลพระภูมิสามพราน
ศาลพระภูมิเมืองนนทบุรี
ศาลพระภูมิบางกรวย
ศาลพระภูมิบางบัวทอง
ศาลพระภูมิบางใหญ่
ศาลพระภูมิปากเกร็ด
ศาลพระภูมิไทรน้อย
ศาลพระภูมิเมืองปทุมธานี
ศาลพระภูมิคลองหลวง
ศาลพระภูมิธัญบุรี
ศาลพระภูมิลาดหลุมแก้ว
ศาลพระภูมิลำลูกกา
ศาลพระภูมิสามโคก
ศาลพระภูมิหนองเสือ
ศาลพระภูมิเมืองสมุทรปราการ
ศาลพระภูมิบางพลี
ศาลพระภูมิบางเสาธง
ศาลพระภูมิพระประแดง
ศาลพระภูมิพระสมุทรเจดีย์
ศาลพระภูมิเมืองระยอง
ศาลพระภูมินิคมพัฒนา
ศาลพระภูมิเขาชะเมา
ศาลพระภูมิบ้านฉาง
ศาลพระภูมิปลวกแดง
ศาลพระภูมิวังจันทร์
ศาลพระภูมิแกลง
ศาลพระภูมิเมืองชลบุรี
ศาลพระภูมิเกาะจันทร์
ศาลพระภูมิบางละมุง
ศาลพระภูมิบ่อทอง
ศาลพระภูมิบ้านบึง
ศาลพระภูมิพนัสนิคม
ศาลพระภูมิพานทอง
ศาลพระภูมิศรีราชา
ศาลพระภูมิสัตหีบ
ศาลพระภูมิหนองใหญ่
ศาลพระภูมิเกาะสีชัง
ศาลพระภูมิเมืองสมุทรสาคร
ศาลพระภูมิกระทุ่มแบน
ศาลพระภูมิบ้านแพ้ว
ศาลพระภูมิมหาชัย
ศาลพระภูมิเมืองสมุทร
ศาลพระภูมิอัมพวา
ศาลพระภูมิบางคนที
ศาลพระภูมิเมืองราชบุรี
ศาลพระภูมิบ้านคา
ศาลพระภูมิจอมบึง
ศาลพระภูมิดำเนินสะดวก
ศาลพระภูมิบางแพ
ศาลพระภูมิบ้านโป่ง
ศาลพระภูมิปากท่อ
ศาลพระภูมิวัดเพลง
ศาลพระภูมิสวนผึ้ง
ศาลพระภูมิโพธาราม
ศาลพระภูมิเมืองฉะเชิงเทรา
ศาลพระภูมิคลองเขื่อน
ศาลพระภูมิท่าตะเกียบ
ศาลพระภูมิบางคล้า
ศาลพระภูมิบางน้ำเปรี้ยว
ศาลพระภูมิบางปะกง
ศาลพระภูมิบ้านโพธิ์
ศาลพระภูมิพนมสารคาม
ศาลพระภูมิราชสาส์น
ศาลพระภูมิสนามชัยเขต
ศาลพระภูมิแปลงยาว
ศาลพระภูมิเมืองนครนายก
ศาลพระภูมิปากพลี
ศาลพระภูมิบ้านนา
ศาลพระภูมิองครักษ์