
จ้างรถกระบะขนของ และจ้างรถขนของทุกประเภท
01 มกราคม 2567
ผู้ชม 273 ผู้ชม
บริการรถบรรทุก 4ล้อ 6ล้อ 10ล้อ
รถบรรทุกรับจ้าง ขนของ ขนสินค้า ขนย้ายบ้าน
รับขนย้ายรถบด แม็คโคร รถไถ
รถเทเลอร์โรเบส
รับย้ายรถขุด รถตัก รถดั้ม สิบล้อ
รับย้ายรถแทรคเตอร์
รับย้ายรถแบคโฮ ย้ายรถแม็คโคร
บริการขนย้ายเครื่องจักร รถโฟล์คลิฟ เครื่องจักรมือสอง
เทรลเลอร์พื้นเลียบโรเบท
บรรทุกหลังกระบะ อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
การใช้รถกระบะของเมืองไทยพบเห็นโดยทั่วไป โดยเฉพาะเหล่าพ่อค้าแม่ค้า ที่ต้องขนของทำมาหากิน แต่รู้หรือไม่การบรรทุกของเยอะๆ นั้นถ้าประมาทก็อาจเกิดความเสียหายทั้งต่อตนเองและคนอื่นๆ ได้ด้วย ที่สำคัญการบรรทุกของไม่ใช่ว่าอยากขนอะไรก็ใส่ๆ ไป ต้องคำนึงความถูกต้องและต้องถูกกฎหมายด้วย ไม่งั้นอาจต้องสูญเสียได้ในหลายๆ ทาง
– ความกว้าง ต้องไม่เกินความกว้างของรถ
– ความยาว ด้านหน้ายื่นได้ไม่เกินหน้าหม้อรถ ส่วนด้านหลังต้องเลยตัวรถได้ไม่เกิน 2.50 เมตร
– ความสูง บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.80 เมตร
– หากมีการขนย้ายสิ่งของหรือสัตว์เลี้ยง ต้องป้องกันไม่ให้สิ่งของตกหล่น เพราะอาจสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นได้
ในกรณีที่ บรรทุกหลังกระบะ แบบกระบะเปิดท้าย แต่ทำตามกฎหมายกำหนดไว้อย่างถูกต้อง บางพื้นที่อาจอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทางที่ดีไม่แนะนำให้ บรรทุกหลังกระบะ แบบเปิดท้ายกระบะครับ
(หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 1,000 บาท ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2522) ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2552 มาตรา 5 และ มาตรา 18)
รถกระบะที่มีการเสริมและดัดแปลงต่อเติมส่วนต่างๆ ของรถหรือติดตั้งตะแกรง เช่น ตะแกรงเหล็กเสริมรั้ว โครงเหล็กตะแกรงที่หลังคา เป็นต้น ถือได้ว่ามีความผิดฐานดัดแปลงรถ แต่หากอยากเพิ่มเติมต้องแจ้งแก้ไขไปที่ สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนไว้ หากคุณไม่มีการแจ้ง ถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ประกอบการมาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
กรณีที่บรรทุกของยื่นเกินกว่าความยาวของตัวรถผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติดังนี้
– หากทำการขนย้ายสิ่งของในเวลากลางวัน ควรติดธงสีแดง เรืองแสงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร แสดงเป็นสัญญาณให้รถคันหลังเห็นได้ชัดและระมัดระวังตัวได้
– หากทำการขนย้ายสิ่งของในเวลากลางคืน หรือ ช่วงเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนหรือเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ควรติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจนระยะ 150 เมตร
จะ ขนของขึ้นรถ อย่างไรไม่ให้โดนจับ?
การใช้รถขนย้ายสิ่งของ ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปกันเลยก็ได้ รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าที่มักจะนิยมใช้รถกระบะ รถ 6 ล้อ 10 ล้อในการขนย้ายสิ่งของต่างๆ เพื่อนำไปขายกันอยู่เป็นประจำนั่นเอง แต่ว่าการขนของขึ้นรถนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถขนขึ้นเท่าไหร่ก็ได้ เพราะว่ามีเรื่องของน้ำหนักที่รถสามารถบรรทุกได้อยู่ หากเราขนของขึ้นรถมากจนเกินว่าที่ผู้ผลิตรถกำหนดไว้ก็อาจจะเกิดอันตรายขึ้นกับเราผู้ขับขี่และผู้อื่นได้ นอกจากนั้นยังมีกฎหมายเกี่ยวกับการขนของขึ้นรถกำหนดไว้อีกด้วย
วันนี้ MoneyGuru.co.th ก็ได้ไปรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการขนของขึ้นรถนี้มาฝากกัน เพื่อที่เราจะได้ขนของกันอย่างสบายใจและไม่โดนตำรวจจับนั่นเอง ว่าแล้วเราก็ไปดูกันเลยว่าข้อมูลที่รวบรวมมามีอะไรบ้าง
จะ ขนของขึ้นรถ อย่างไรไม่ให้ตำรวจจับ?
1.รถกระบะเปิดท้ายขนของจะผิดไหม?
กรณีที่เราเปิดท้ายขนของนี้ กำหนดสิ่งที่เราจะต้องทำจะแยกเป็น 2 กรณี คือ
- กรณีกลางวันจะต้องติดธงสีแดงเรืองแสงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 30 ซม. ยาว 45 ซม. ไว้ที่ตอนปลายสุดของสิ่งที่บรรทุกด้วย
- กรณีกลางคืนหรือในเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร เราจำเป็นต้องติดไฟสัญญาณสีแดงที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในระยะ 150 ม.
- หากเรา (คนขับ) ไม่ยอมทำตามที่กำหนดไว้ ก็มีสิทธิ์ถูกจับและปรับ 1 พันบาทได้ เพราะถือว่าทำผิดกฎหมาย
หากว่าเราเปิดกระบะท้ายรถเพื่อขนของและทำตามที่กำหนดไว้อย่างถูกต้อง แบบนี้จะไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ในบางพื้นที่นั้นอาจจะอยู่ที่ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งทางที่ดีนั้นเราควรจะไม่บรรทุกแบบเปิดท้ายกระบะจะดีที่สุด รวมถึงเพื่อความปลอดภัยของเราเองอีกด้วย
2.ดัดแปลงต่อเติมตะแกรงเหล็กที่กระบะ จะผิดไหม?
หากว่าเรานั้นได้ทำการดัดแปลงตัวรถกระบะของเรา หรือต่อเติมส่วนอื่นของรถเกินไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ เช่น ติดตั้งโครงเหล็กตะแกรงที่หลังคา ติดตะแกรงเหล็กเสริมรั้วที่กระบะข้าง เป็นต้น เราต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ตรวจสอบว่ามีความแข็งแรงและปลอดภัยหรือไม่ หลังจากนั้นให้เราไปแจ้งแก้ไข ณ สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนไว้ โดยขั้นตอนที่ว่ามานี้ต้องทำก่อนการนำรถไปใช้งาน เพราะว่าในบางครั้งการแก้ไขดัดแปลงรถ อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดอันตรายต่างๆ ได้ โดยการแก้ไขดัดแปลงนี้จะต้องไม่เป็นการติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้บรรทุกของได้มากขึ้นด้วย
ส่วนโทษของการแก้ไขดัดแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้โดยมิได้แจ้งต่อนายทะเบียน จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ประกอบการมาตรา 60 มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท ฐานแก้ไขดัดแปลงรถ
3.หากเราบรรทุกของเกินออกมาจากตัวรถ จะผิดไหม?
เชื่อได้ว่าหลายคนคงเคยผ่านตามากันบ้างกับรถที่บรรทุกสิ่งของเกินออกมาจากตัวรถ หากเกินออกมาเล็กน้อยก็คงจะพอทนกันได้ แต่ในรถบางคันนั้นบรรทุกเกินออกมายาวมากๆ จนอาจจะเป็นอันตรายต่อรถคันอื่นๆ ได้ก็คงจะเกินทนใช่ไหมล่ะครับ แต่อย่าคิดว่าแบบนี้สามารถทำได้นะ เพราะส่วนนี้ก็มีกฎหมายกำหนดไว้เช่นกันก็คือ กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2552 มาตรา 5 และมาตรา 18 ระบุไว้ว่า
“รถบรรทุกสิ่งของจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นี้ นั่นคือ ด้านหน้าจะต้องไม่ยื่นเกินหม้อหรือกันชน ส่วนด้านหลังยื่นได้ไม่เกิน 2.50 เมตร หากเป็นรถพ่วงด้านหลังต้องยื่นไม่เกิน 2.50 เมตร สำหรับ ความกว้าง บรรทุกได้ไม่เกินความกว้างของรถ ความสูง กรณีที่รถมีความกว้างเกิน 2.30 เมตร บรรทุกสิ่งของสูงไม่เกิน 3.80 เมตร หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 1,000 บาท”
นอกจากนี้ในกรณีที่เราใช้รถขนย้ายสิ่งของ เรานั้นต้องมีสิ่งป้องกันของไม่ให้ตกหล่น รั่วไหล หรือปลิวออกจากรถ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่ไม่คาดฝันขึ้น รวมถึงการบรรทุกของเกินออกจากตัวรถนี้เราต้องทำตามที่ข้อ 1. ได้บอกไว้ด้วย เพราะหากว่าเราไม่ทำ เราก็มีสิทธิ์ถูกจับและปรับ 1 พันบาทได้ เพราะถือว่าทำผิดกฎหมาย
4.เราจะขนเหล้าเบียร์อย่างไร ให้ไม่โดนจับ
ข้อนี้เชื่อได้ว่าหลายๆ คนก็อาจจะสงสัยว่ามีกำหนดไว้ด้วยหรอ ซึ่งจริงๆ แล้ว ในส่วนนี้ก็มี พ.ร.บ. สุรา กำหนดไว้เช่นกัน มีใจความดังนี้
พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตราที่ 14 ระบุว่า
“ห้ามมิให้ทําการขนสุราตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไป เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตขนสุรา จากเจ้าพนักงานสรรพสามิต หรือกรณีขนสุราเข้ามาในราชอาณาจักรจากเจ้าพนักงาน ศุลกากร หรือเป็นสุราชนิดที่ได้มีกฎกระทรวงยกเว้นให้ทําการขนได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตขนสุรา ซึ่งผู้ที่ได้รับใบอนุญาตต้องนำใบอนุญาตขนสุรากํากับไปกับสุราที่ขนด้วย”
พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตราที่ 15 ระบุไว้ว่า
“ผู้ใดทําการขนสุราที่ทําในราชอาณาจักรเกินกว่า 1 ลิตรแต่ไม่ถึง 10 ลิตรเข้าใน หรือออกนอกเขตท้องที่ที่กําหนดในกฎกระทรวงจะต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต โดยใช้บังคับกรณีผู้โดยสารทําการขนสุราโดยยานพาหนะสาธารณะที่รับส่งคนโดยสารเป็นปกติผ่านเขตท้องที่ที่กําหนดนั้น หรือเป็นสุราชนิดที่ได้มีกฎกระทรวงยกเว้นให้ทําการขนได้โดยไม่ต้อง มีใบอนุญาตขนสุรา”
สรุปสั้นๆ เข้าใจง่ายๆ เกี่ยวกับการขนเหล้าเบียร์ขึ้นรถ
เราไม่สามารถขนเหล้าเบียร์ขึ้นรถได้เกิน 10 ลิตร นั่นเอง หากต้องการจะขนเกินกว่านี้ เราจะต้องมีใบอนุญาตขนสุราจากเจ้าพนักงานก่อนครับ ตามที่ พ.ร.บ. สุรา ได้กำหนดไว้