บริการตรวจเช็คหลังคา ออกแบบ ติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์อย่างมืออาชีพ โซล่ารูฟท๊อป(Solar Rooftop) ดำเนินเรื่องขออนุญาตกับการไฟฟ้า
โซล่าเซลล์บ้านพักอาศัย
โซล่าร์เซลล์หลังคาบ้าน
โซล่าร์เซลล์โรงงาน
โซล่าร์เซลล์โรงแรม
โซล่าร์เซลล์รีสอร์ท
ติดต่อสอบถาม
โซลาร์เซลล์คืออะไร
ระบบโซลาร์เซลล์ หรือโซล่าร์รูฟท็อป (Solar rooftop) คือ ระบบที่สามารถนำพลังานจากแสงอาทิตย์มากักเก็บเป็นพลังงานโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "แผงโซล่าร์เซลล์" และนำพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้นั้นนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเริ่มแรกพลังงานที่ได้จะถูกเปลี่ยนมาเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากนั้นพลังงานก็จะถูกส่งต่อไปที่เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าอินเวอร์เตอร์ (inverter) เพื่อแปลงพลังงานจากไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่เหมาะกับการใช้ร่วมกันกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหรืออาคารเพื่อนำพลังงานไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานต่อไป แน่นอนว่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้นี้เป็นพลังงานสะอาด สามารถผลิตขึ้นมาใช้เองได้แบบฟรีๆ หากโซล่าร์รูฟท็อปของคุณสามารถผลิตพลังงานได้มากเพียงพอต่อการใช้งาน
หลักการทำงานของโซลาร์เซลล์
ในปัจจุบันนี้ระบบโซลาร์เซลล์ หรือโซล่าร์รูฟท็อป ( Solar rooftop ) มีให้เลือกใช้อยู่หลากหลายแบบตามปัจจัยความเหมาะสมด้านพื้นที่ และรูปแบบการใช้งาน เช่น
- โซล่าร์รูฟท็อประบบออฟกริด ( Off-grid )
เป็นระบบโซลาร์เซลล์ที่จะนำพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ในตอนกลางวัน ได้จากแสงอาทิตย์นำมาเก็บสะสมไว้ภายในก้อนแบตเตอรี่ เพื่อนำมาใช้งานในภายหลังในเวลาที่ต้องการได้ ทำให้ระบบนี้สามารถทำงานแยกเดี่ยวได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศไทยอย่างการไฟฟ้าแต่อย่างใด ซึ่งระบบนี้จะเหมาะสำหรับคนที่ต้องการสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน หรือตอนกลางคืนที่ระบบโซล่าเซลล์ไม่สามารถกักเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้โดยการนำแบตเตอรี่ที่มีการชาร์จไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในตอนกลางวันมาใช้ในตอนกลางคืน แน่นอนว่าสามารถใช้เป็นไฟฟ้าสำรองในวันที่ฟ้าดับได้ด้วย นอกจากนั้นระบบนี้ยังเหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ลำบาก หรือพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงได้
- โซล่าร์รูฟท็อประบบออนกริด ( ON GRID )
เป็นระบบโซลาร์เซลล์ที่จะนำพลังงานไฟฟ้าที่ระบบสามารถผลิตได้ ณ ตอนนั้นมาใช้งานได้ทันทีในขณะที่กำลังผลิต โดยไม่มีการเก็บสำรองเอาไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้ในภายหลัง ทั้งยังเป็นระบบที่สามารต่อพ่วงใช้งานร่วมกันกับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เพื่อให้สามารถใช้งานไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องแม้ในวันที่ระบบไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียงพออย่างในวันที่แดดน้อย ฟ้าครึ้ม หรือฝนตกหนัก โดยระบบนี้มักจะนิยมใช้กันภายในบ้าน อาคารหรือออฟฟิศเล็กๆ และโฮมออฟฟิศมากที่สุด เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการเปิดใช้งานแอร์ คอมพิวเตอร์ จนไปถึงอุปกรณ์สำนักงานอื่น ๆ ทำให้มีการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งมันจะช่วยเรื่องการประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีเพราะในตอนกลางวันหากระบบสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอ คุณก็แทบไม่ต้องเสียเงินจ่ายค่าไฟเลย แต่ถ้าพลังงานที่ได้จากระบบนี้เกิดไม่พอ มันก็จะดึงพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้ต่อโดยอัตโนมัติซึ่งแน่นอนว่าในส่วนนั้นคุณก็ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าตามปกติตามปริมาณที่ใช้งานไปนั่นเอง
- โซล่าร์รูฟท็อประบบไฮบริด ( Hybrid )
เป็นระบบที่เหมือนการนำระบบออนกริด และออฟกริดมารวมกันเพราะระบบนี้สามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าเอาไว้ภายในแบตเตอรี่สำรองได้ และสามารถดึงพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้ได้หากระบบไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้เพียงพอ นั่นหมายความว่าต่อให้ไม่มีพลังงานในแบตเตอรี่เหลืออยู่เลยก็ยังสามารถใช้ไฟฟ้าต่อได้ หรือหากระบบสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เหลือเฟือก็สามารถใช้งานพร้อมทั้งกักเก็บพลังงานลงในแบตเตอรี่ เพื่อนำมาใช้งานต่อในเวลากลางคืนหรือเวลาฉุกเฉินได้นั่นเอง โดยระบบนี้จะเหมาะกับคนทั่วไปที่ต้องการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไว้ใช้เพื่อประหยัดต้นทุนเรื่องค่าไฟฟ้าในระยะยาวเพราะสามารถใช้งานได้ทั้งตอนกลางคืนและตอนกลางวัน เพียงแต่ระบบนี้จะมีการใช้งานอุปกรณ์ที่มากกว่าระบบออนกริด และระบบออฟกริดเพราะเหมือนนำทั้งสองระบบนี้มารวมเข้าไว้ด้วยกันในหนึ่งเดียว
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เผยการปรับราคารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโซลาร์ภาคประชาชน จาก 1.68 บาทต่อหน่วยเป็น 2.20 บาทต่อหน่วยมีผลแล้วตั้งแต่ 1 ม.ค. 2564 ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อรับผลตอบแทนการลงทุนที่เพิ่มขึ้นได้ทันที ในขณะที่ โครงการนำร่องรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ 50 เมกะวัตต์ใน กลุ่มโรงพยาบาล โรงเรียน ภาคเกษตร ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ การไฟฟ้านครหลวง เพื่อเตรียมออกประกาศระเบียบการรับซื้อไฟฟ้า โดยจะดำเนินการเสร็จภายในไตรมาสแรกปี 2564
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กก.) และในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยความคืบหน้าโครงการโซลาร์ภาคประชาชนว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ปรับราคารับซื้อไฟฟ้า จาก 1.68 บาทต่อหน่วย เป็น 2.20 บาทต่อหน่วยระยะเวลา 10 ปีแล้ว โดยมีผลกับ ทั้งกลุ่มครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการไปแล้ว และผู้สมัครเข้าร่วมโครงการใหม่ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 โดยโครงการดังกล่าวจะมีปริมาณรับซื้อเบื้องต้น 50 เมกะวัตต์
ทั้งนี้โครงการโซลาร์ภาคประชาชนที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2562และ 2563 ในอัตราค่าไฟฟ้าที่รับซื้อเดิม ที่ 1.68 บาทต่อหน่วยนั้น ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากประชาชน โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการประมาณ 400 ราย รวมกำลังการผลิตเพียง 3-4 เมกะวัตต์ เท่านั้น แต่เชื่อว่าการปรับราคารับซื้อเพิ่มเป็น 2.20 บาทต่อหน่วยจะทำให้มีผู้สนใจมากขึ้น โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดการสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ของ PEA และ กฟน.
ในส่วนการรับซื้อไฟฟ้าโครงการโซลาร์เซลล์นำร่องปริมาณรับซื้อ 50 เมกะวัตต์ ที่กำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน ในอัตรา 1.00 บาทต่อหน่วย แบ่งเป็นกลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา 20 เมกะวัตต์ กลุ่มโรงพยาบาล 20 เมกะวัตต์ และการสูบน้ำเพื่อการเกษตร 10 เมกะวัตต์ ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 นั้น ทาง กกพ.อยู่ระหว่างหารือกับการไฟฟ้านครหลวง และPEA เพื่อออกระเบียบรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่เคยมีการรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์เซลล์จากกลุ่มดังกล่าวมาก่อน ซึ่งมั่นใจว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2564 แน่นอน จากนั้นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA และ กฟน.จะดำเนินการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการเป็นขั้นตอนต่อไป
โซล่ารูฟท๊อปเชียงราย