ข้อดีของการทำรีไฟแนนซ์ ยังไง ปี 2023
28 มีนาคม 2566
ผู้ชม 217 ผู้ชม
ติดต่อสอบถาม
รีไฟแนนซ์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
เพื่อน ๆ คงพอจะได้ยินข่าวดีว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกแล้วนะครับ ซึ่งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยน่าจะลดลงอีก เพื่อน ๆ ที่ผ่อนสินค้าต่าง ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ เห็นอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงมากแล้วเพื่อน ๆ คงอยากจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยที่เพื่อน ๆ กู้ยืมกันอยู่กันแน่เลยใช่ไหมครับ ผมจึงอยากขอแนะนำการทำรีไฟแนนซ์ครับ โดยจะบอกเคล็ดลับแบบหมดเปลือกให้เพื่อน ๆ ทราบถึงวิธีการรีไฟแนนซ์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดครับ
ก่อนอื่นผมขออธิบายของความหมายของการทำรีไฟแนนซ์ให้เพื่อน ๆ ได้เข้าใจกันก่อนนะครับ โดยการทำรีไฟแนนซ์ (Refinance) หมายถึง การชำระเงินกู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดด้วยเงินกู้ใหม่ และใช้สินทรัพย์ตัวเดิมเป็นหลักประกัน โดยขอกู้เงินจากสถาบันการเงินแห่งใหม่เพื่อนำไปปลดภาระเงินกู้เก่าที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น รีไฟแนนซ์ในกรณีที่เราผ่อนบ้าน คอนโด หรือรถไม่ไหว หมุนเงินไม่ทัน หนี้ก้อนเดิมที่มีอยู่อัตราดอกเบี้ยสูง หรือต้องจ่ายเงินงวดต่อเดือนสูง เป้าหมายของการรีไฟแนนซ์ ก็อย่างเช่น เราจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ค่างวดที่ต้องจ่ายต่อเดือนลดลง หรือระยะเวลาเป็นหนี้นานขึ้น โดยอาจจะขอกู้จากสถาบันทางการเงินที่เป็นเจ้าหนี้รายเดิมหรือเป็นสถาบันการเงินเจ้าใหม่ก็ได้ ซึ่งการรีไฟแนนซ์ที่ถูกต้องจะต้องเป็นการกู้เงินที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวผู้กู้มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนค่าใช้จ่ายรวมสุทธิทั้งหมดกับหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมก่อนหน้านี้ อธิบายได้ง่าย ๆ ก็คือ เมื่อทำการรีไฟแนนซ์มาแล้วหนี้สินสามารถลดลงจากของเดิมนั่นเองนะครับ
ขอยกตัวอย่างข้อดีและข้อเสียในการทำรีไฟแนนซ์ให้เพื่อน ๆ ได้ใช้ในการตัดสินใจดูนะครับ
ข้อดีของการทำรีไฟแนนซ์
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ที่ถูกกว่า ทำให้เราผ่อนชำระได้ดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม
บางกรณีอาจได้วงเงินกู้มากขึ้นกว่ายอดคงค้างเดิม
ลดภาระหนี้ ทำให้จำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนลดลง
ได้เงินส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้มีเงินเหลือใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นได้มากขึ้น สามารถนำไปหมุนเวียนใช้จ่ายหรือหมุนเวียนในธุรกิจได้
ข้อเสียของการทำรีไฟแนนซ์
ทำให้ระยะเวลาผ่อนชำระนานขึ้น
เสียค่าจัดรีไฟแนนซ์ใหม่ เสียค่าใช้จ่ายจิปาถะในการดำเนินการ เสียเวลา และอาจต้องเสียค่าปรับหากมีการไถ่ถอนก่อนกำหนด
มีความยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เช่น เอกสารเกี่ยวกับรายได้ของผู้กู้ หากปัจจุบันผู้กู้ตกงาน ไม่มีรายได้ ไม่สามารถหาเอกสารที่ยืนยันรายได้ของตนเอง อาจทำให้ไม่สามารถทำการรีไฟแนนซ์ได้
เมื่อเพื่อน ๆ ได้ลองชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดี และข้อเสียในการทำรีไฟแนนซ์แล้ว ตัดสินใจที่จะทำการรีไฟแนนซ์ ผมอยากจะแนะนำวิธีการรีไฟแนนซ์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะขอยกตัวอย่างกรณีการรีไฟแนนซ์ของสินเชื่อบ้าน ดังนี้ครับ
เทคนิคขั้นตอนการรีไฟแนนซ์ของสินเชื่อบ้าน
ขั้นแรก ที่อยากให้เพื่อนพิจารณาเป็นลำดับแรก คือ ตรวจสอบกับธนาคารว่าได้ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด ในเงื่อนไขที่ดีที่สุด ซึ่งผมอยากจะขอแนะนำเพื่อน ๆ ให้ลองพิจารณาสินเชื่อบ้านกรุงศรีรีไฟแนนซ์ของธนาคารกรุงศรีอยุธยาดู ซึ่งเป็นสินเชื่อที่น่าสนใจตัวหนึ่งเลยครับ เพื่อน ๆ สามารถเข้าไปหาข้อมูลต่าง ๆ โดยรายละเอียด ลองดูตัวอย่างตามได้ที่นี่เลยครับ
ขั้นที่สอง เมื่อได้ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันทางการเงินต่าง ๆ มาแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการคำนวณ โดยเพื่อน ๆ จะต้องนำข้อมูลสินเชื่อในสัญญาเก่ากู้ซื้อบ้านอันเก่าที่ยังคงเหลืออยู่นำมาเปรียบเทียบกับสัญญาเงินกู้ที่จะรีไฟแนนซ์ฉบับใหม่ (ค่างวดเก่า – ค่างวดใหม่) พิจารณาดูว่าเมื่อรีไฟแนนซ์แล้ว จะประหยัดค่างวดลงได้เยอะหรือไม่ ลองใช้เครื่องมือนี้คำนวณดูก่อนเลยครับ ถ้าคำนวณแล้วประหยัดไปได้เยอะเลย เพื่อน ๆ ก็ตัดสินใจยื่นเรื่องขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารที่เพื่อน ๆ คำนวณเห็นว่าคุ้มค่าที่สุด
ขั้นที่สาม ติดต่อธนาคารเก่าเพื่อขอสเตทเมนต์สรุปยอดหนี้เงินกู้ และนำเอกสารสรุปยอดหนี้ที่ได้มาไปทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคารใหม่ที่เราจะขอรีไฟแนนซ์
ขั้นที่สี่ ทำเรื่องยื่นกู้ใหม่กับธนาคารใหม่ที่เราจะขอรีไฟแนนซ์ ซึ่งขั้นตอนการรีไฟแนนซ์นั้นเหมือนกับการขอสินเชื่อใหม่เหมือนเดิมทุกประการเลยครับ
ขั้นที่ห้า รอผลอนุมัติจากธนาคารที่ยื่นกู้ใหม่
ขั้นที่หก เมื่อธนาคารอนุมัติแล้วให้เพื่อน ๆ ติดต่อธนาคารเก่า เพื่อนัดวันไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งธนาคารเดิมจะสรุปยอดหนี้ให้อีกครั้ง พร้อมทั้งแจ้งชื่อผู้รับมอบอำนาจของทางธนาคารที่จะไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดิน เราต้องแจ้งยอดหนี้ เป็นเงินต้นรวมดอกเบี้ยจนถึงวันไถ่ถอนแก่ธนาคารใหม่
ขั้นที่เจ็ด ติดต่อนัดธนาคารใหม่ เพื่อนัดวันทำสัญญาและโอนทรัพย์ที่ใช้จำนองต้องเป็นวันเดียวกันกับที่นัดกับที่เดิมไว้
ขั้นที่แปด ทำเรื่องโอนที่ ณ สำนักงานที่ดินในเขตที่บ้านของเราตั้งอยู่ ทำการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เรียบร้อย โดยถ้ายอดกู้สูงกว่าราคาไถ่ถอน ธนาคารใหม่จะออกเช็คให้เรา 2 ใบ ใบหนึ่งจ่ายให้กับธนาคารเก่า และอีกใบหนึ่งให้เรา เมื่อจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว มอบโฉนดที่ได้มาจากสำนักงานที่ดินให้กับธนาคารใหม่ที่เราเป็นหนี้ ก็ถือว่ารีไฟแนนซ์เสร็จเรียบร้อย เราก็จะเป็นหนี้กับธนาคารใหม่แล้วนะครับ แต่จะได้อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ประหยัดได้มากขึ้นนะครับ
ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์
ซึ่งเพื่อน ๆ ควรนำมาพิจารณาในการขอรีไฟแนนซ์ เพื่อประเมินว่าคุ้มไหม ค่าใช้จ่ายมีดังนี้
ค่าปรับการคืนเงินกู้ก่อนกำหนดตามสัญญาที่มีอยู่ ประมาณ 2-3% ของวงเงินกู้ทั้งจำนวน โดยบางแห่งคิดจากมูลหนี้ที่เหลืออยู่ (จ่ายให้กับผู้ให้กู้เดิม หากรีไฟแนนซ์ทั้งก้อนก่อนครบกำหนด 3 ปี)
ค่าจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ ประมาณ 0-1% ของวงเงินกู้ใหม่ (จ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่)
ค่าธรรมเนียมในการจำนอง ประมาณ 1% ของราคาประเมิน (ไม่เกิน 200,000 บาท) (จ่ายให้กับกรมที่ดิน และไม่ต้องจ่ายถ้ารีไฟแนนซ์กับที่เดิม)
ค่าประเมินราคาหลักประกัน ประมาณ 2,500 บาท-0.25% ของราคาประเมิน (จ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่ และอาจไม่ต้องจ่ายถ้ารีไฟแนนซ์กับที่เดิม)
ค่าทำประกันอัคคีภัย ประมาณ 2,000 บาทสำหรับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท (จ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่)
ค่าอากรแสตมป์ ประมาณ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ (จ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่)
โดยผมอยากแนะนำเคล็ดลับ ในการพิจารณาว่าการรีไฟแนนซ์แต่ละครั้งจะคุ้มค่าหรือไม่ โดยเพื่อน ๆ ควรพิจารณาดูส่วนต่างที่ประหยัดได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง (เปรียบเทียบจากค่างวดที่ต้องผ่อนระหว่างธนาคารเดิมและธนาคารใหม่) รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์และจุดคุ้มทุนของการรีไฟแนนซ์ ถ้าเพื่อนพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วคุ้มค่า ก็ลุยเลยครับ เวลาไม่เคยคอยใครนะครับ
รีไฟแนนซ์บ้านเชียงราย