Refinance คืออะไร (ทำไมต้องทำ, ต้องทำเมื่อไร, ควรทำไหม)
26 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้ชม 235 ผู้ชม
ติดต่อสอบถาม
Refinance คืออะไร (ทำไมต้องทำ, ต้องทำเมื่อไร, ควรทำไหม)
สำหรับคนมี บ้าน ที่ผ่อนหมดแล้วหรือยังผ่อนชำระเงินกู้ไม่หมด เชื่อว่าหลายคนคงได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือจากคนรอบข้างให้ทำการ ‘รีไฟแนนซ์บ้าน’ กันมาบ้าง แน่นอนว่าหากเป็นคนที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้าน พอได้ฟังคำนี้แล้วก็อาจปฏิเสธในทันที เพราะเข้าใจว่าเป็นการสร้างภาระหนี้เพิ่มหรือต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังต้องไปติดต่อกับธนาคารเดิมและธนาคารเพื่อขอสินเชื่อใหม่ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยากในการเตรียมเอกสารและต้องเสียเวลาดำเนินการหลายวัน ทำให้ตัดสินใจไม่รีไฟแนนซ์บ้านและยังทนชำระค่าผ่อน บ้าน ในจำนวนเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามเงื่อนไขของธนาคารต่อไป ซึ่งเป็นการเสียเงินโดยไม่จำเป็น ดังนั้นวันนี้เราจึงมีความหมายและประโยชน์ของการรีไฟแนนท์บ้านมาฝาก รับรองว่าถ้ารู้แล้วหลายคนอาจเปลี่ยนใจรีบเอา บ้าน ไปรีไฟแนนซ์กับธนาคารแน่ ๆ เมื่ออ่านบทความนี้จบ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการรีไฟแนนซ์บ้านไม่ใช่การเพิ่มหนี้ แต่เป็นการขอกู้เงินสินเชื่อ บ้าน กับธนาคารใหม่หรือธนาคารเดิมเพื่อนำเงินไปปิดชำระยอดหนี้เพื่อทำให้สัญญาการกู้เงินฉบับเดิมสิ้นสุดลง โดยจุดประสงค์หลักของการรีไฟแนนซ์บ้านคือ ต้องการเปลี่ยนเงื่อนไขสัญญาที่ทำไว้กับธนาคารเดิมให้มีความเหมาะสมกับสภาพคล่องทางการเงินของผู้ขอสินเชื่อมากยิ่งขึ้น เช่น ต้องการเพิ่มระยะเวลาผ่อนชำระเพิ่มมากขึ้น , ต้องการชำระเงินกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำลงกว่าสัญญาเดิม หรือต้องการส่วนต่างของวงเงินกู้มาใช้ประโยชน์ เช่น ปิดหนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 25-28 ต่อปี หรือนำเงินส่วนต่างมาขยายธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งการรีไฟแนนซ์บ้านสามารถนำ บ้าน ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น คฤหาสน์หรู บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม และ คอนโด เพื่อยื่นขอรีไฟแนนซ์ได้
โดยส่วนใหญ่การรีไฟแนนซ์บ้านมักนิยมทำหลังจากผ่านการผ่อนชำระค่าผ่อนชำระสินเชื่อไปแล้วประมาณ 3 ปี เนื่องจากตอนทำสัญญาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ปกติธนาคารมักมีโปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 1 – 3 ปี (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด) แต่หลังจากนั้นธนาคารส่วนใหญ่มักปล่อยอัตราดอกเบี้ยเป็นไปแบบลอยตัว (MLR) หรือ แบบลอยตัวแต่มีส่วนลด (MLR-) ซึ่งค่า Minimum Loan Rate หรือ MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากัน แต่ถึงอย่างนั้นบางคนอาจรีไฟแนนซ์บ้านไม่ได้หลังจากผ่อนชำระไปแล้ว 3 ปี เพราะติดเงื่อนไขในสัญญาเงินกู้เดิมที่ระบุว่า ผู้ขอสินเชื่อสินเชื่อต้องเสียค่าปรับหากรีไฟแนนซ์บ้านก่อนกำหนดที่มีในสัญญา โดยบางสถาบันอาจระบุระยะเวลาไว้นาน 5-7 ปี ซึ่งมักมาพร้อมกับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกเป็นพิเศษตอนทำสัญญากู้สินเชื่อหรือจูงใจด้วยการฟรีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการต่าง ๆ อย่างไรก็ตามในแต่ละปีทุกธนาคารจะแข่งขันกันออกโปรโมชั่นลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อจูงใจลูกค้าในการนำ บ้าน เข้ามารีไฟแนนซ์กับธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับลูกค้าเพราะสามารถเลือกธนาคารที่ให้ผลประโยชน์ที่คุ้มค่ามากที่สุดได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การพิจารณาสินเชื่อที่เหมาะสมจึงเป็นหัวใจสำคัญของการรีไฟแนนซ์บ้าน
สำหรับคนมี บ้าน ที่ผ่อนหมดแล้วหรือยังผ่อนชำระเงินกู้ไม่หมด เชื่อว่าหลายคนคงได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือจากคนรอบข้างให้ทำการ ‘รีไฟแนนซ์บ้าน’ กันมาบ้าง แน่นอนว่าหากเป็นคนที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้าน พอได้ฟังคำนี้แล้วก็อาจปฏิเสธในทันที เพราะเข้าใจว่าเป็นการสร้างภาระหนี้เพิ่มหรือต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังต้องไปติดต่อกับธนาคารเดิมและธนาคารเพื่อขอสินเชื่อใหม่ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยากในการเตรียมเอกสารและต้องเสียเวลาดำเนินการหลายวัน ทำให้ตัดสินใจไม่รีไฟแนนซ์บ้านและยังทนชำระค่าผ่อน บ้าน ในจำนวนเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามเงื่อนไขของธนาคารต่อไป ซึ่งเป็นการเสียเงินโดยไม่จำเป็น ดังนั้นวันนี้เราจึงมีความหมายและประโยชน์ของการรีไฟแนนท์บ้านมาฝาก รับรองว่าถ้ารู้แล้วหลายคนอาจเปลี่ยนใจรีบเอา บ้าน ไปรีไฟแนนซ์กับธนาคารแน่ ๆ เมื่ออ่านบทความนี้จบ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการรีไฟแนนซ์บ้านไม่ใช่การเพิ่มหนี้ แต่เป็นการขอกู้เงินสินเชื่อ บ้าน กับธนาคารใหม่หรือธนาคารเดิมเพื่อนำเงินไปปิดชำระยอดหนี้เพื่อทำให้สัญญาการกู้เงินฉบับเดิมสิ้นสุดลง โดยจุดประสงค์หลักของการรีไฟแนนซ์บ้านคือ ต้องการเปลี่ยนเงื่อนไขสัญญาที่ทำไว้กับธนาคารเดิมให้มีความเหมาะสมกับสภาพคล่องทางการเงินของผู้ขอสินเชื่อมากยิ่งขึ้น เช่น ต้องการเพิ่มระยะเวลาผ่อนชำระเพิ่มมากขึ้น , ต้องการชำระเงินกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำลงกว่าสัญญาเดิม หรือต้องการส่วนต่างของวงเงินกู้มาใช้ประโยชน์ เช่น ปิดหนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 25-28 ต่อปี หรือนำเงินส่วนต่างมาขยายธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งการรีไฟแนนซ์บ้านสามารถนำ บ้าน ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น คฤหาสน์หรู บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม และ คอนโด เพื่อยื่นขอรีไฟแนนซ์ได้
โดยส่วนใหญ่การรีไฟแนนซ์บ้านมักนิยมทำหลังจากผ่านการผ่อนชำระค่าผ่อนชำระสินเชื่อไปแล้วประมาณ 3 ปี เนื่องจากตอนทำสัญญาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ปกติธนาคารมักมีโปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 1 – 3 ปี (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด) แต่หลังจากนั้นธนาคารส่วนใหญ่มักปล่อยอัตราดอกเบี้ยเป็นไปแบบลอยตัว (MLR) หรือ แบบลอยตัวแต่มีส่วนลด (MLR-) ซึ่งค่า Minimum Loan Rate หรือ MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากัน แต่ถึงอย่างนั้นบางคนอาจรีไฟแนนซ์บ้านไม่ได้หลังจากผ่อนชำระไปแล้ว 3 ปี เพราะติดเงื่อนไขในสัญญาเงินกู้เดิมที่ระบุว่า ผู้ขอสินเชื่อสินเชื่อต้องเสียค่าปรับหากรีไฟแนนซ์บ้านก่อนกำหนดที่มีในสัญญา โดยบางสถาบันอาจระบุระยะเวลาไว้นาน 5-7 ปี ซึ่งมักมาพร้อมกับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกเป็นพิเศษตอนทำสัญญากู้สินเชื่อหรือจูงใจด้วยการฟรีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการต่าง ๆ อย่างไรก็ตามในแต่ละปีทุกธนาคารจะแข่งขันกันออกโปรโมชั่นลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อจูงใจลูกค้าในการนำ บ้าน เข้ามารีไฟแนนซ์กับธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับลูกค้าเพราะสามารถเลือกธนาคารที่ให้ผลประโยชน์ที่คุ้มค่ามากที่สุดได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การพิจารณาสินเชื่อที่เหมาะสมจึงเป็นหัวใจสำคัญของการรีไฟแนนซ์บ้าน
ซึ่งการเลือกสินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์บ้านนั้นควรพิจารณาจากวงเงินที่ธนาคารอนุมัติ ทั่วไปมักปล่อยวงเงินกู้ตั้งแต่ร้อยละ 90 – 100 ของราคาประเมิน บ้าน หรือมากกว่ายอดหนี้เดิมเพื่อให้เหลือส่วนต่างหลังจากปิดยอดหนี้ของสัญญาเงินกู้เดิมที่ทำไว้ และควรมีอัตราดอกเบี้ยต่ำลงกว่าเดิม โดยมีการคิดทั้งแบบลอยตัว แบบคงที่ และแบบผสม หรือแบบปรับคงที่ตามรอบเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคาร รวมถึงยังให้เวลาผ่อนชำระสินเชื่อเงินกู้นานสูงสุดนานถึง 30-35 ปี แต่ระยะเวลากู้เงินรวมกับอายุของสินเชื่อต้องไม่เกิน 65 ปี อย่างไรก็ตามผู้ที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านต้องตรวจสอบสัญญาเดิมก่อนว่าสามารถปิดสัญญากู้สินเชื่อเดิมได้หรือไม่ เพราะหากยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่ทำได้ อาจต้องเสียค่าปรับเพิ่ม ทำให้การรีไฟแนนซ์บ้านอาจไม่คุ้มค่า ดังนั้นอาจต้องรอจนพ้นกำหนดของเงื่อนไขเดิมเสียก่อนจึงจะขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารได้
ในส่วนของประโยชน์หลัก ๆ ที่ผู้ขอสินเชื่อจะได้รับหลังจากการขอรีไฟแนนซ์บ้านคือ ผู้ขอสินเชื่อจ่ายค่าผ่อนชำระรวมอัตราดอกเบี้ยต่อเดือนน้อยลง โดยผู้ขอสินเชื่อสามารถปรับจำนวนเงินชำระต่องวดและจำนวนปีที่ต้องผ่อนชำระให้เหมาะสมกับความสามารถทางการเงินของผู้ขอสินเชื่อทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตัวอย่างเช่น หากยอดหนี้ในการผ่อน บ้าน กับธนาคารเดิมคงเหลือ 4,000,000 บาท รวมระยะเวลาผ่อน 25 ปี ต้องจ่ายดอกเบี้ยประมาณ 4,328,865 บาท รวมแล้วต้องชำระยอดรวมค่า บ้าน ทั้งสิ้น 8,328,865 บาท ที่อัตราดอกเบี้ยที่ 6.8% แต่หากนำ บ้าน เข้ามารีไฟแนนซ์ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 3.75% จะทำให้เหลือเงินที่ต้องผ่อนชำระเพียง 6,169,575 บาท ทั้งยังช่วยย่นระยะเวลาการส่งงวดลงได้ด้วย เรียกว่าลดทั้งดอกเบี้ยและลดทั้งจำนวนปีไปพร้อมกัน เป็นการช่วยให้ผู้กู้สินเชื่อมีสภาพคล่องทางการเงินมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังได้วงเงินเพิ่มจากเดิม เหลือเงินก้อนใหญ่เก็บไว้ใช้ประโยชน์ในยามเกิดเหตุการณ์คับขันขึ้นในครอบครัวอีกด้วย
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลดี ๆ ของการรีไฟแนนซ์บ้านที่นำเรามาฝาก จะเห็นว่าการรีไฟแนนซ์บ้านไม่ได้เป็นการเพิ่มหนี้แต่เป็นช่วยทำให้ภาระหนี้น้อยลง ดังนั้นหากใครผ่อน บ้าน หรือ คอนโด ได้เกิน 3 ปี และไม่ติดเงื่อนไขใดๆ กับธนาคาร แนะนำให้นำไปบ้านไปรีไฟแนนซ์กับธนาคาร แต่อย่าลืมพิจารณาเงื่อนไขของสัญญาเดิมและสัญญาใหม่ให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ เพื่อความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุดในการรีไฟแนนซ์บ้าน