การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเบื้องต้น
25 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้ชม 255 ผู้ชม
ตู้แช่ทุกรุ่นทุกยี่ห้อบริการถึงบ้านไม่ยกกลับ ศูนย์ซ่อมเครื่องซักผ้า อันดับ1 บริการรับซ่อมถึงบ้าน ซ่อมด่วน ถึงบ้าน ทุกยี้ห้อ ฝาหน้า ฝาบน ถูกใจโดยช่างมืออาชีพ
ติดต่อสายด่วน
การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเบื้องต้น
เราซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ อย่างไมโครเวฟ เตาอบ เครื่องซักผ้า ทีวี ตู้เย็น เตารีด และอื่น ๆ ภายในบ้าน ก็เพื่อมาอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน จนทุกวันนี้ก็เหมือนจะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ไปแล้ว และเมื่อใช้งานอยู่ทุกวัน ก็เป็นธรรมดาที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจะเสื่อมสภาพหรือชำรุดเสียหายไปบ้าง ซึ่งถ้าหากเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องไหนเสีย ก็คงสร้างความลำบากกับเราได้ไม่น้อยเหมือนกัน ฉะนั้นคงดีกว่าหากเราจะมาเรียนรู้วิธีซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตัวเองกันสักหน่อย ก่อนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับการจ้างช่าง ลองมาดูวิธีกันก่อนค่ะ
1. ตรวจสอบปลั๊ก
หลายครั้งที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้งานไม่ได้เพราะความสะเพร่าของเราเอง เป็นต้นว่า ลืมเสียบปลั๊ก เสียบปลั๊กไม่แน่น หรือเสียบปลั๊กแล้วแต่ดันลืมกดเปิดสวิชท์ซะอย่างนั้น ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ก็เลยต้องมาเตือนกันก่อนว่า ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความผิดปกติ หรือเปิดใช้งานไม่ได้ ให้คุณตรวจสอบเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบนี้เบื้องต้นก่อน เพราะบางทีเครื่องใช้ไฟฟ้าอาจจะยังใช้งานได้ตามปกติ ไม่ได้ชำรุดอย่างที่เราเข้าใจ
2. เช็กกระแสไฟ
ปกติแล้วกระแสไฟฟ้าภายในบ้านของเราจะถูกจำกัดอยู่ที่ 220 โวลต์ ซึ่งก็หมายความว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราจะนำมาใช้ก็ต้องมีกำลังไฟที่ไม่เกินไปกว่านั้น ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดกรณีไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้นเราก็ควรต้องดูให้แน่ใจว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราจะใช้งาน มีกำลังไฟฟ้าอยู่ที่เท่าไร เพราะถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีกำลังการใช้ไฟที่เกิน 220 โวลต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจลัดวงจรขึ้นมาจนเป็นอันตรายนั่นเอง
3. ดูฟิวส์และเบรกเกอร์
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าฟิวส์และเบรกเกอร์ในตัวเครื่องไม่ได้ขัดข้องหรือขาดไป เพราะถ้า 2 อุปกรณ์ในเครื่องนี้ไม่ทำงาน ก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเกเรไม่ยอมทำงานขึ้นมาด้วย ซึ่งหากว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ทำงานเพราะเหตุนี้ ก็แค่หาซื้อฟิวส์มาเปลี่ยนใหม่ เท่านี้เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะกลับมาทำงานได้ตามปกติแล้วค่ะ
4. เติมเชื้อเพลิง
หากว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด เป็นอุปกรณ์ที่ต้องพึ่งเชื้อเพลิงอื่น ๆ เช่น แก๊ส หรือน้ำ ก็คงต้องตรวจสอบเชื้อเพลิงเหล่านี้ในเครื่องด้วย ว่ามีเพียงพอให้เครื่องทำงานได้ตามปกติหรือเปล่า เหมือนกับการขับรถยนต์นั่นแหละ ที่ต้องคอยหมั่นเติมน้ำมัน น้ำกลั่น และน้ำมันเครื่องอยู่เสมอ เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเป็นปกติดี
5. ปลอดภัยไว้ก่อน
ถ้าตรวจสอบการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเบื้องต้นแล้ว ทุกอย่างเป็นปกติดี แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าก็ยังไม่ยอมทำงาน อย่างนี้ก็คงต้องลองซ่อมแซมด้วยตัวเองกันแล้วล่ะ แต่ก่อนจะลงมือซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรก็ตาม ก่อนอื่นควรจะตรวจสอบก่อนว่าได้ตัดไฟฟ้า เพื่อป้องกันเครื่องไฟฟ้าทำงานแล้วหรือยัง เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด เช่น ไฟช็อต หรือไฟดูดเอาได้ เมื่อแน่ใจแล้ว ก็ค่อยเช็กอุปกรณ์ว่ามีความผิดปกติตรงจุดไหนหรือไม่ แต่ถ้าดูไม่ออก จะหยิบคู่มือการใช้งานของอุปกรณ์ชิ้นนั้นขึ้นมาดูประกอบไปด้วยก็ได้ค่ะ
6. คลายนอต
สำหรับอุปกรณ์ที่วงจรด้านในถูกปิดอย่างแน่นหนาด้วยนอต ก็ต้องคลายนอตออกก่อน โดยแนะนำให้ดูวิธีจากคู่มือประกอบ จะได้คลายนอตได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อสภาพการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ถ้าหากอุปกรณ์ชิ้นนั้นถูกตอกด้วยหมุดโลหะ หรือขึงด้วยเส้นลวดอย่างแน่นหนา ก็อาจจะเกินกำลังความสามารถของเราไปสักหน่อยที่จะซ่อมแซม ดังนั้นหิ้วไปให้ช่างผู้ชำนาญการตรวจสอบให้ดีกว่า
7. ซื้ออะไหล่มาเปลี่ยน
ส่วนมากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสีย มักจะมีสาเหตุมาจากอุปกรณ์ภายในเครื่องเกิดชำรุดหรือพังไปบางส่วน ซึ่งเราสามารถหาซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนด้วยตัวเองได้ โดยดูตามคู่มือการใช้งาน ที่จะมีวิธีเปลี่ยนอะไหล่ต่าง ๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้าบอกเอาไว้อยู่แล้ว ที่สำคัญถ้าเราหาซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนเอง จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมไปได้เยอะอีกด้วย
8. ปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญ
สุดท้ายถ้าลองซ่อมด้วยตัวเองก็ไม่ได้ผล อย่างนี้คงต้องยอมแพ้ แล้วหอบเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียไปซ่อมแซมที่ศูนย์บริการรับซ่อม หรือศูนย์ใหญ่ของยี่ห้อเจ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เลย เพื่อให้ช่างผู้ชำนาญการเขาจัดการแก้ปัญหาให้เรา วิธีนี้อาจจะเสียเวลาและเปลืองเงินในกระเป๋าสักหน่อย แต่ถ้ามันคุ้มค่าก็ต้องยอมแลก
หากยังพอมีหนทางที่จะซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง และการซ่อมแซมที่ว่านี้ก็ดูจะคุ้มค่ากว่าการควักเงินในกระเป๋าไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใหม่ ไม่ว่าใครก็คงเลือกที่จะซ่อมมากกว่าแน่ ๆ และถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นโปรดของคุณเกิดเกเรไม่ยอมทำงานขึ้นมาบ้าง ยังไงก็ลองนำเทคนิคตามที่เราบอกไปลองซ่อมแซมกันดูก่อนนะคะ เผื่อจะช่วยประหยัดค่าซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าลงไปได้บ้าง
ภายในบ้านของเรามีอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ มากมายหลายชนิด ตั้งแต่ที่มีความจำเป็นมาก ๆ ไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งนับวันก็ดูจะยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรับอากาศ พัดลม ดวงโคม ตู้เย็น ทีวี หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอีกมากมายหลายขนานที่วางตัวเกะกะอยู่ในครัว ตั้งแต่เครื่องปั่น เครื่องทำกาแฟ เครื่องสกัดน้ำผลไม้ ไปจนถึง หม้อหุงข้าวที่ต้องใช้งานกันทุกวัน วันนี้เราลองมาดูกันดีกว่า ว่าภายในบ้านของเรานั้น มีอุปกรณ์ไฟฟ้าอะไรซ่อนอยู่บนฝ้าสวยๆ หรือแม้แต่หลังฝาตู้ อุปกรณ์เหล่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้น สามารถใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับชีวิตของเราได้อย่างที่เป็นอยู่
ประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้า ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าและความปลอดภัยในการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ควรรู้จัก
พลังงานไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานรูปอื่นได้ อุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านเรามากมายล้วนแต่ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น
1. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้แสงสว่าง ได้แก่ หลอดไฟ โคมไฟต่างๆ ฯลฯ
2. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน ได้แก่ เตาไฟฟ้า เตารีด หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องเป่าผม เตาอบ ฯลฯ
3. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทมอเตอร์หมุน ได้แก่ พัดลม เครื่องซักผ้า เครื่องผสมอาหารไฟฟ้า
4. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความเย็น ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ
5. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์
หน้าที่ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญๆ
1.เมนสวิตซ์ (Main Switch) หรือสวิตซ์ประธาน เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้สำหรับตัดต่อวงจรของสายเมนเข้าออกอาคารกับสายภายในทั้งหมด เป็นอุปกรณ์สับปลดวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (มิเตอร์) ของการไฟฟ้าเข้ามาในบ้าน เมนสวิตซ์ประกอบด้วยเครื่องปลดวงจร (Disconnecting Means) และเครื่องป้องกันกระแสเกิน (Over current Protective Device)
หน้าที่ของเมนสวิตซ์ คือ คอยควยคุมการใช้ไฟฟ้าให้เกิดความปลอดภัย ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าเกินหรือไฟฟ้าลัดวงจร เราสามารถสับ หรือปลดออกได้ทันที เพื่อตัดไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้ามายังอาคาร
2. เบรกเกอร์ (เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือสวิตซ์อัตโนมัติ) หมายถึง อุปกรณ์ที่สามารถใช้สับหรือปลดวงจรไฟฟ้าได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถปลดวงจรที่มีการใช้กระแสไฟฟ้าเกินและกระแสลัดวงจรได้โดยอัตโนมัติ โดยกระแสลัดวงจรนั้นต้องไม่เกินขนาดพิกัดในการตัดกระแสลัดวงจรของเครื่อง (IC)
3.ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่งโดยจะตัดวงจรไฟฟ้าโดยอัตโนมัติเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่กำหนดและเมื่อฟิวส์ทำงานแล้วจะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC) ของฟิวส์ต้องไม่ต่ำกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่ผ่านฟิวส์
4.เครื่องตัดไฟรั่วหรือเครื่องตัดวงจรเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน( ELCB, GFCI, RCD, RCD, RCBO) หมายถึง สวิตซ์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาที่กำหนดเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงดินในปริมาณมากกว่าค่าที่กำหนดไว้เครื่องตัดไฟรั่วมักจะใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสริมกับระบบสายดินเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด กรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มีไฟรั่วเกิดขึ้น
5.สายดินเพื่อความปลอดภัย สายเขียว สายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า สายดินเครื่องใช้ไฟฟ้า (Equipment grounding Conductor หรือ Protective Conductor หรือ P.E.) คำเหล่านี้ล้วนมีความหมายเดียวกันคือ หมายถึง ตัวนำ หรือสายไฟฟ้าที่ต่อจากส่วนที่เป็นเปลือกโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าซึ่งปกติส่วนที่ไม่มีไฟและมักมีการจับต้องขณะใช้งานเพื่อให้เป็นเส้นทางให้กระแสไฟรั่วให้ไหลลงดินโดยผู้ใช้หรือบุคคลทั่วไปไปที่มาสัมผัสแล้วไม่เกิดอันตราย ขณะเดียวกันก็เป็นเส้นทางให้กระไฟรั่วไหลย้อนกลับไปยังหม้อแปลงไฟฟ้าได้สะดวกเพื่อให้เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติทำงานตัดไฟออกทันที โดยทั่วไปสายไฟดัวกล่าวมักจะเรียวกันสั้นๆว่า สายดิน
6.หลักดิน (Ground Rod) หมายถึง แท่งหรือโลหะที่ฝังอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่แพร่หรือกระจายประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดินได้โดยสะดวกวัตถุที่จะนำมาใช้เป็นหลักดิน เช่น ทองแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร (5/18) ยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร เป็นต้น
7.สายต่อหลักดิน (Grounding Electrode Conductor) คือ สายตัวที่ใช้ต่อระหว่างหลักดินกับส่วนที่ต้องการต่อลงดินซึ่งในที่นี้หมายถึงสายที่ต่อระหว่างหลักดินกับขั้วต่อสายศูนย์หรือขั้วต่อสายศูนย์หรือขั้วต่อสายดินในแผงสวิตซ์ประธาน(ตู้เมนสวิตซ์)เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีการต่อลงดิน
8.เต้ารับ หรือปลั๊กตัวเมีย คือ ขั้วรับสำหรับหัวเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งอยู่กับที่ เช่น ติดอยู่กับผนังอาคารเป็นต้น
9.เต้าเสียบ หรือปลั๊กตัวผู้ คือ ขั้วหรือหัวเสียบจากเครื่องไฟฟ้าเพื่อเสียบเข้ากับเต้ารับทำให้สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้
10.เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1 หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่มีความหนาของฉนวนไฟฟ้าเพียงพอสำหรับการใช้งานปกติเท่านั้น โดยมักมีการเปลือกนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้าทำด้วยโลหะเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ผู้ผลิตจำเป็นจะต้องมีการต่อลงดินมายังตู้เมนสวิตซ์โดยผ่านทางขั้วสายดินของเต้าเสียบ-เต้ารับ
11.เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2 หมายถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการหุ้มฉนวนส่วนที่มีไฟฟ้า ด้วยฉนวนที่มีความหนาเป็น 2 เท่าของความหนาที่ใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วๆไป สัญญาลักษณ์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2 คือเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ไม่จำเป็นจะต้องต่อสายดิน
12. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 3 หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไม่เกิน 50 โวลต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ไม่ต้องมีสายดิ