อุปกรณ์ในการสร้างบ้านเพิ่มเติมมีอะไรบ้าง
หมวดหมู่สินค้า: A128 สร้างบ้าน
25 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้ชม 248 ผู้ชม
รับสร้างบ้าน รับเหมาต่อเติม รีโนเวท บ้าน บ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ อาคารพักอาศัย ทุกประเภท เราพร้อมที่จะทำดีที่สุดให้กับคุณ บ้านสวยราคาถูก สร้างตามงบประมาณ ผลงานสร้างบ้านของเรา
รับสร้างบ้าน
สร้างบ้านราคาถูก
สร้างบ้านชั้นเดียว
บริษัทรับสร้างบ้าน
สร้างบ้านราคาถูก
รับสร้างบ้านราคาถูก
ช่างสร้างบ้าน
รับสร้างบ้านหรู
แบบบ้านราคาประหยัด
รับออกแบบบ้าน
งานตกแต่งผนังประโยชน์ของผนัง
1. แบ่งพื้นที่ใช้สอยในอาคาร
2. เพิ่มความเป็นสัดส่วน เช่น ห้องน้ำกับห้องนอน
3. ป้องกันผู้ใช้อาคารจากธรรมชาติ เช่น กันฝน แดด แมลง
4. ป้องกันผู้บุกรุก
ประเภทผนัง
ผนังหนัก ต้องมีคานมารับ เช่น ผนังก่ออิฐ
ผนังเบา จะมีคานมารับหรือไม่ก็ได้ โดยผนังเบาใช้กับโครงสร้าง ไม้ เหล็ก คสล.
แผ่นยิปซัม ขนาด 1.20 x 2.40 m ( แผ่นเล็ก ขนาด 0.60 x 0.60 , 0.60 x 1.20 , 1.20 x 1.20 ก็มีเอาไว้ทำฝ้าเพดาน ) ไม่ควรนำไปใช้เป็นผนังภายนอกเพราะจะไม่ทน
บัวเชิงผนัง ประโยชน์ คือ
1. ปิดรอยต่อผนัง และพื้น
2. ป้องกันผนังเลอะจากการทำความสะอาด บัวจึงมักมีสีเข้มหรือสีเดียวกับพื้น
ข้อควรคำนึงในการออกแบบผนัง
-ควรจะเหมาะกับประโยชน์ใช้สอยและตำแหน่งผนัง
-บริเวณผนังด้านนอกควรใช้ไม้แผ่นเพราะโดนความชื้น
-ผนังกั้นห้องภายในใช้ไม้อัดหรือยิปซัมก็ได้
ไม้มอบฝ้า (คิ้ว)
ทำหน้าที่คล้ายบัวเชิงผนัง แต่ปิดรอยต่อระหว่างผนังและฝ้าเพดานที่อาจมีช่องไม่เรียบร้อย
ทำให้ห้องดูแคบหรือเตี้ยลงได้
งานปูพื้น
กระเบื้อง ที่ใช้ปูพื้นทั่วไปในท้องตลาดมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ กระเบื้องเซรามิคเคลือบ และกระเบื้องยาง ซึ่งเป็น วัสดุสังเคราะห์ กระเบื้องเคลือบ นั้นใน การปูพื้น ต้องเตรียม พื้นคอนกรีต ให้มีผิวหน้าหยาบ เพื่อให้ปูนที่ใช้ใน การปูพื้น กระเบื้อง เกาะยึดติดกับ พื้นผิวเดิม ให้แน่นไม่หลุดร่อน
กระเบื้องยาง นั้นพื้นที่จะปูนั้นต้องเป็นพื้นขัดมันเรียบ เพราะ กระเบื้องยาง นั้นใช้ กาวยาง เป็นตัวเชื่อมประสาน ระหว่างกระเบื้องและพื้น พื้นผิวที่เตรียมไว้ปูกระเบื้องยางจึงต้องเตรียมให้ได้ระดับ ต้องแห้ง และสามารถที่จะ กันน้ำซึมได้
การปูพื้นด้วยกระเบื้องเซรามิคส์
วิธีปฏิบัติเป็นแนวทางในการปูพื้นกระเบื้องเซรามิคส์ดังนี้
1.ต้องมั่นใจว่า พื้นที่จะปู กระเบื้อง นั้นได้ทำ ความสะอาด เป็นที่เรียบร้อย ไม่มี คราบฝุ่น น้ำมัน รอยสกปรกติดอยู่ ตลอดจนไม่ลืมตรวจเช็ค ระดับพื้น หรือแนวระนาบของผนังที่จะปูถ้าไม่ได้ระดับ หรือระนาบควรตกแต่ง หรือปรับให้ได้แนวที่ต้องการ
2. พื้นที่ที่จะปู กระเบื้อง ต้องแห้ง ไม่มีความชื้น หากเป็นพื้นหรือผนังคอนกรีตนั้น พื้นที่ที่จะ ปูกระเบื้อง ได้ต้องทิ้งไว้ ให้แห้งหลังการเทพื้นหรือฉาบแล้วอย่างน้อยเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ จนแน่ใจว่าพื้นไม่มีความชื้นแล้ว จึงเริ่มลงมือปูกระเบื้องได้ครับ เพราะหากพื้นที่จะปูกระเบื้อง มีความชื้นอยู่จะมีผล ทำให้แรงยึดกันระหว่าง พื้นและวัสดุปูพื้น อ่อนลง สำหรับ พื้นชั้นล่าง ที่อยู่ติดพื้นดิน ควรรองพื้นด้วย แผ่นพลาสติก และปูนซีเมนต์ผสมทราย ที่จะทำการเทพื้นปรับระดับควรผสมน้ำยากันซึม เพื่อป้องกันความชื้นซึมขึ้นมาตามร่องยาแนว หรือผิวของกระเบื้อง
3. ในการปูกระเบื้อง นั้น ควรเว้นร่องประมาณ 1-3 ม.ม. เพื่อป้องกันปัญหาการโก่งแอ่นหลังจากการปูและใช้งาน ในการปูกระเบื้องในปัจจุบันนั้นมีวัสดุประสานอยู่สองชนิดใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ ใช้กาวซีเมนต์ หรือปูนซีเมนต์ ตามอัตราส่วน (ยกเว้น การปูกระเบื้อง ทับพื้นเดิม ซึ่งควรใช้กาวซีเมนต์ชนิดพิเศษปู หรือใช้น้ำยา ที่ช่วยเพิ่ม แรงยึดเกาะ ผสมกับกาวซีเมนต์ทั่วไป ไม่ควรใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายเพียงอย่างเดียว) ในการปูพื้นกระเบื้องใหม่ แนะนำให้ใช้ปูนกาวซีเมนต์ เนื่องจากมี ความแข็งแรงทนทาน สามารถยึดเกาะได้ดีรวมทั้งสะดวกและรวดเร็วกว่า
4. เมื่อปูกระเบื้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องทิ้งให้ซีเมนต์แห้งอย่างน้อย 24 ช.ม. แล้วจึงยาแนว โดยปาด ตามแนวเฉียง กับร่องกระเบื้อง เพื่อให้ตัวยาแนว ลงร่องอย่างสม่ำเสมอ(ข้อสำคัญ คือ ต้องไม่ลืมทำ ความสะอาด ร่องระหว่างกระเบื้อง ก่อนการยาแนวนะครับ) เมื่อยาแนวเป็นที่เรียบร้อย ก็ควรที่จะต้องทิ้งพื้นที่ดังกล่าว ไว้ 1 อาทิตย์ก่อน การใช้งาน โดยทำความสะอาดกระเบื้อง หลังจากปุเสร็จแล้ว 24-36 ชั่วโมงและหลังจากพื้นกระเบื้องแห้ง ทำการเช็ดผิวของกระเบื้องอีกครั้ง ด้วยผ้าสะอาด
งานบันได
เรื่องของบันได จะเริ่มขั้นแรกอย่างไรตำแหน่งควรวางอย่างไรให้ดูสวยด้วยสง่าภูมิฐาน ไม่ว่าเป็นบันไดแบบโมเดิร์น หรือคลาสสิคก็ตาม บันไดขั้นแรกต้องเป็นลักษณะอย่างไรลูกตั้งลูกนอนควรสูง – กว้างแค่ไหน การเดินการก้าว จึงจะสะดวก เดินขึ้นลงด้วยท่าทางที่สง่าภูมิฐานของท่านเจ้าของบ้าน ราวจับบันได , ราวกันตกบันได ควรมีขนาดเท่าไร ดีไซน์ของราวบันได ก็เป็นจุดเด่นของบันไดเหมือนกัน มิใช่ว่าออกแบบ ทำเสร็จสวยแต่ขึ้นแล้ว ไม่สบาย เดินแล้วเหนื่อย มีลูกตั้งที่สูงไม่เท่ากันเป็นของแถมมาให้เวลาเดินหน้าจะคะมำตกบันไดเอาดื้อๆ สำหรับคนสูงอายุ ก็น่าเป็นห่วงใหญ่ แบบบันไดปกติ เช่น บันไดขึ้นตรง , บันไดตัวยู บันไดตัวเอล หรือบันไดโค้ง
ลักษณะและชนิดของบันได
1.บันไดช่วงเดียว
2. บันไดตรงมีชานพัก
3. บันไดมีชานพักและหักเลี้ยว 90 องศา
4. บันไดมีชานพักและเลี้ยวกลับ ( single dog leg )
5.บันไดเลี้ยวกลับรูปตัว U ( half turn open well )
6. บันไดเลี้ยวกลับรูปตัว U ไม่มีชานพัก
7. บันไดโค้ง หรือบันไดพัด
8. บันไดประติมากรรม สวย แต่เปลืองเนื้อที่
9. บันไดเวียน ประหยัดเนื้อที่แต่ใช้งานยาก ใช้ไม่บ่อย
บันไดมี 2 ลักษณะ
1.หล่อกับที่ ( Cast in place concrete stair )
2. หล่อสำเร็จ ( Precast concrete stair ) เหมาะสำหรับทำเป็น module ในปริมาณมากๆ ใช้กับอาคารสูงๆที่ต้องมีบันไดเยอะๆทั้ง 2 ชนิด จะหล่อทั้งช่วงหรือหล่อเป็นส่วนๆมาประกอบก็ได้
งานทาสีอาคาร
การแบ่งประเภทของสี แบ่งตามการใช้งานโดยเริ่มจากชั้นล่างสุด คือ
1. สีรองพื้น ( Primer ) หมายถึงสีชั้นแรกสุด ที่เคลือบติดวัสดุนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิมมีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุด สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง คือ สีที่กันความเป็นด่างจากพื้นปูนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นด่างจากเนื้อปูน ทำปฏิกิริยากับสีทาทับหน้า ลดจำนวนสีทับหน้า วิธีนี้สามารถลดจำนวนสีทับหน้าลงได้
2. สีชั้นกลาง ( Undercoat ) เป็นสีชั้นที่สองรองจากสีรองพื้น เป็นสีที่เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นกับสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่มความหนาของฟิล์มสี และลดการใช้สีทับหน้า
3. สีทับหน้า ( Top Coat ) เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม มีสีมากมายให้เลือกใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น สีขาว เหลือง แดง ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจ
4. สีทับหน้าประเภทใส ( Clear T/C ) เป็นสีที่ไม่มี Pigment จะไม่มีสีเป็นสีใสๆ หรือเหลืองอ่อน ใช้เคลือบบนวัสดุต่างๆ ให้เงามากขึ้น หรือด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน
ชนิดและประเภทของสีเพื่อการใช้งาน
สีชนิดทาภายนอกอาคาร คือ สีที่จะทาในส่วนภายนอกอาคารทั้งหมด ที่มีการระบุให้ทาสี รวมทั้งพื้นผิวส่วนที่เปิดสู่ภายนอก หรือ พื้นผิวส่วนที่จะได้รับแสงแดดโดยตรงจากภายนอกได้ ให้ทาด้วยสีประเภทอาคิลิค (Pure Acrylic Paint )โดยทำการทา 3 เที่ยว ในการทาสีทุกชนิดโดยเฉพาะสีทาภายนอกนั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมพื้นผิวสำหรับการทาสีนั่นเอง เพราะกว่า 80 % ของ การวิบัติของสี เกิดมาจาก การเตรียมพื้นผิวไม่ดี ก่อนการทาสีนั้น ต้องให้แน่ใจว่า พื้นที่จะทานั้น แห้งสนิท ไม่มีสภาพ เป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะ ควรเป็น ผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น หากมีต้องทำ การโป๊วปิดรอยต่อ เสียให้เรียบร้อย ก่อน การทาสี โดยปรกติ การทาสีทุกประเภทจะทาประมาณ 2 – 3 รอบและ ไม่ควร ทาสีเกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้ชั้นของสี มีความหนาเกินไป และหลุดร่อนได้ง่าย
สีน้ำพลาสติกทาภายใน คือ สีที่จะทา ส่วนภายในอาคาร เช่น ผนังฉาบปูนพื้นผิว ยิปซั่มบอร์ด กระแผ่นเรียบ หรือส่วนอื่นๆ ที่ระบุให้ทา ด้วยสีพลาสติก ( ทา 2-3 เที่ยว ) ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำสีภายในใช้ทาผนังภายนอก เนื่องจากสีภายใน ไม่ทนแดดทนฝน ทำให้สี หลุดร่อนได้ง่าย ที่คิดว่ามีราคาถูกกว่าสีทาภายนอกตั้งแต่แรกก็จะกลายเป็นแพงกว่าขึ้นมาทันที แถมยังเสียเวลาเสียความรู้สึกอีกด้วย เวลาสีหลุดล่อนแตกลายงา ส่วนในผนังที่จะทาสีน้ำมันต้องสะอาด แห้ง และสิ่งที่สำคัญมากคือ ต้องไม่มีความชื้นเพราะ ความชื้นที่มีอยู่ ภายใน หากทาสีแล้วชั้น ของสีน้ำมันจะทับทำให้ระบายอากาศไม่ได้และจะทำให้เนื้อสีพอง บวม ออกมาได้ชัดเจนมากกว่าสีน้ำ หรือ สีอาคิลิค (Acrylic) สีในแต่ละส่วนของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นภายนอก ภายใน หรือส่วนอื่นของบ้านย่อมมี รายละเอียดของสีที่ทาแตกต่างกัน
งานสุขภัณฑ์
1. อ่างล้างหน้า
ประเภทของอ่างล้างหน้าแยกตามการติดตั้ง
- อ่างล้างหน้าแบบแขวนกับผนัง จะยึดขอเกี่ยวรับอ่างล้างหน้าไว้ ที่ผนังซึ่งใน การก่อสร้าง ควรทำคานเอ็น ในบริเวณ ที่จะยึด เพื่อความแข็งแรง
- อ่างล้างหน้าแบบติดตั้งบนเคาน์เตอร์มี 2 แบบ คือ
1. อ่างล้างหน้าแบบฝังในเคาน์เตอร์ มีข้อดีคือ สามารถตกแต่งหน้าเคาน์เตอร์ได้เรียบร้อย และเก็บงานเดินท่อต่าง ๆได้เรียบร้อย แต่มีข้อเสีย คือ ต้องใช้วัสดุปู
2.อ่างล้างหน้าแบบวางบนเคาน์เตอร์ เป็นแบบที่นิยมโดยทั่วไปการบำรุงรักษาทำได้ง่ายกว่าสามารถถอดซ่อมได้และการติดตั้ง ทำได้ง่ายไม่ต้องเจาะรู สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
งานประปา
น้ำคือปัจจัยที่สำคัญใน การดำรงชีวิตของมนุษย์ เราสามารถใช้น้ำในการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งการอุปโภคและบริโภค อาคารบ้าน พักอาศัยก็เช่นเดียวกัน จำเป็นจะต้องมีการวาง ระบบน้ำประปา มาใช้ในอาคารด้วย ในการนำน้ำมาใช้กับ อาคารบ้านเรือน ทั้งหลาย จะต้องมีการวางระบบที่ดี เพื่อให้เกิดความสะดวกใน การใช้งานอีกทั้งสะดวกในการบำรุงรักษาอีกด้วย ต้องคำนึงถึง การจัดวางตำแหน่ง ท่อต่างๆได้แก่ ระบบท่อน้ำดี ระบบท่อน้ำทิ้ง ระบบท่อน้ำเสีย และ ระบบท่อระบายอากาศ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพ ในการใช้ ตลอดจนอายุการใช้งานที่ยาวนานและเนื่องจากระบบท่อต่าง ๆ จะถูกซ่อน
ไว้ตามที่ต่างๆเช่นในผนัง พื้น ฝ้าเพดาน ฉะนั้น ก่อนการ ดำเนินการก่อสร้างต้องมีการวางแผนให้ดี เพื่อประโยชน์ในการซ่อมบำรุงในภายหลัง และนอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้อง คำนึงถึงอีกมากมาย ดังเช่น
1) จัดเตรียมพื้นที่การเดินท่อทั้งแนวนอน แนวดิ่ง รวมถึงระยะลาดเอียงต่าง ๆ
2) ติดตั้งฉนวนในระบบท่อที่จำเป็นเช่น ท่อน้ำเย็น เพื่อลดความเสียหายจากการรั่วซึม
3) ออกแบบระบบแขวน และรายละเอียดอื่น ๆ ตามมาตรฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ
4) จัดเตรียมพื้นที่สำหรับการบำรุงรักษา
ระบบน้ำประปา มีส่วนสำคัญคือ การจ่ายน้ำที่สะอาดไปยังจุดที่ใช้งานต่าง ๆ ในปริมาณ และแรงดันที่เหมาะสม กับการใช้งาน นอกเหนือ จากนั้น ยังจะต้องมีระบบ การสำรองน้ำในกรณีฉุกเฉิน หรือมีการปิดซ่อม ระบบภายนอก หรือช่วงขาดแคลนน้ำ และในอาคาร บาง ประเภท ยังต้องสำรองน้ำสำหรับ ระบบดับเพลิงแยก ต่างหากอีกด้วย
หลักการจ่ายน้ำภายในอาคารมี 2 ลักษณะคือ
1) ระบบจ่ายน้ำด้วยความดัน (Pressurized/Upfeed System)
เป็นการจ่ายน้ำโดยอาศัย การอัดแรงดันน้ำ ในระบบ ท่อประปาจากถังอัดความดัน (Air Pressure Tank) ระบบที่ใช้กับ ความสูงไม่จำกัด ทั้งยังไม่ต้องมี ถังเก็บน้ำ ไว้ดาดฟ้าอาคาร
2) ระบบจ่ายน้ำโดยแรงโน้มถ่วง (Gavity Feed/Downfeed System)
เป็นการสูบน้ำขึ้นไปเก็บไว้บนดาดฟ้าแล้ว ปล่อยลงมาตามธรรมชาติ ตามท่อต้องเป็นอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10 ชั้น ขึ้นไป ถือเป็น ระบบ ที่ไม่ซับซ้อนไม่ต้องใช้ไฟในการจ่าย แต่จะต้องเตรียมถังเก็บน้ำ ไว้บนดาดฟ้า จึงต้องคำนึงถึง เรื่องโครงสร้างในการ รับน้ำหนัก และความสวยงามด้วย
ในการสำรองน้ำสำหรับการใช้งานนั้นจะต้องมีการใช้ถังเก็บน้ำแบบต่าง ๆ มาประกอบการใช้งาน ถังเก็บน้ำที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไป ในปัจจุบันนั้นมีหลายแบบให้เลือกใช้ รวมทั้งอาจจะต้องมีเครื่องสูบน้ำติดตั้งอีกด้วย แต่เครื่องสูบน้ำนั้น ห้ามต่อระหว่าง ระบบสาธารณะ กับถังพักน้ำในบ้าน เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเนื่องจาก เป็นการสูบน้ำจากระบบสาธารณะ โดยตรงซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น การสูบน้ำในบ้านจะต้องปล่อยให้น้ำจาก สาธารณะมาเก็บ ในถังพักตาม แรงดันปกติเสียก่อนแล้วค่อยสูบน้ำไปยังจุดที่ต้องการอื่น ๆได้
ตำแหน่งที่ตั้งถังเก็บน้ำที่ใช้งานทั่วไปมีที่ตั้ง 2 แบบคือ
- ถังเก็บน้ำบนดิน ใช้ในกรณีที่มีพื้นที่เพียงพอกับการติดตั้ง อาจติดตั้งบนพื้นดิน หรือบนอาคาร หรือติดตั้งบนหอสูง เพื่อใช้ประโยชน์ ในการใช้แรงดันน้ำ สำหรับแจกจ่ายให้ส่วนต่างๆของอาคาร การดูแลรักษาสามารถทำได้ง่ายแต่อาจดูไม่เรียบร้อยและไม่สวยงามนัก
- ถังเก็บน้ำใต้ดิน ใช้ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่ในการติดตั้งเพียงพอและต้องการให้ดูเรียบร้อยสวยงามการบำรุงดูแลรักษาทำได้ยาก ดังนั้นการก่อสร้าง และการเลือก ชนิดของถังต้องมีความละเอียดรอบคอบ
ชนิดถังเก็บน้ำ
1. ถังเก็บน้ำ ค.ส.ล. เป็นถังที่มีความแข็งแรงทนทานสามารถสร้างได้ทั้งแบบอยู่บนดิน และใต้ดิน แต่ทีน้ำหนักมาก การก่อสร้าง ต้องระวังเรื่องการรั่วซึม ดังนั้นต้องทำระบบกันซึมและต้องเลือกชนิดที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย
2.ถังเก็บน้ำสแตนเลส เป็นถังน้ำสำเร็จรูปโดยใช้โลหะสแตนเลสที่ไม่เป็นสนิม มีความทนทานต่อการใช้งาน นิยมติดตั้งเป็น ถังน้ำบนดิน
3. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส เป็นถังเก็บน้ำสำเร็จรูป ใช้วัสดุไฟเบอร์กลาสที่มีความยืดหยุ่นสูงไม่แตกหักง่าย มีน้ำหนักเบา รับแรงดันได้ดีและไม่เป็นพิษกับน้ำสามารถติดตั้งได้ทั้งบนดินและใต้ดิน
4. ถังเก็บน้ำ PE (Poly Ethelyn) เป็นถังเก็บน้ำที่ใช้วัสดุชนิดเดียวกับที่ใช้ทำท่อน้ำประปา สามารถรับแรงดัน ได้ดีมีน้ำหนักเบา ใช้ติดตั้ง ได้ทั้งบนดินและ ใต้ดิน
การเลือกและออกแบบถังน้ำจะต้องมีข้อคำนึงถึงคือ
- ต้องคำนึงถึงอายุการใช้งานของถังเก็บน้ำ
- ขนาดและจำนวนถังเก็บน้ำจะต้องมีปริมาณน้ำสำรองที่พอเพียงต่อการใช้งาน สำหรับบ้านพักอาศัยจะใช้น้ำที่ ประมาณ 200 ลิตร / คน / วัน
- จะต้องจัดเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้งถังเก็บน้ำสำหรับอาคารด้วย
- จะต้องมีความสะดวกสบายในการติดตั้ง การดูแลรักษาและทำความสะอาด
- ระบบท่อที่เชื่อมต่อกับถังเก็บน้ำจะต้องดีมีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง เช่น น้ำรั่ว หรือชำรุดเป็นต้น
ชนิดของท่อประปา
- ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี
ข้อดี มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิที่สูงๆ เช่น เครื่องทำน้ำร้อน
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง ถ้าใช้ไปนานๆ อาจเกิดสนิม ได้ โดยเฉพาะที่ฝังอยู่ในดิน อาจเป็นอันตราย ถ้านำน้ำในท่อ มารับประทาน
- ท่อประปาพีวีซี (PVC.)
ข้อดี น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่า สามารถดัดงอได้ และ ไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า
ข้อเสีย ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง
- ชนิดของท่อพีวีซี (PVC.)
ท่อพีวีซี (PVC.) แบ่งตามชนิดการใช้งาน โดยใช้สี ดังนี้
1. ท่อสีเหลือง เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี
2. ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภท การใช้งาน (มีหลายเกรด)
3. ท่อสีเทา เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน
วิธีการเดินท่อประปา โดยทั่วไปแล้วการเดินท่อประปาภายในบ้าน จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. การเดินท่อแบบลอย คือ การเดินท่อติดกับผนัง หรือวางบนพื้น การเดินท่อแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจน สามารถ ซ่อมแซมได้ง่าย เมื่อเกิดปัญหา แต่จะดูไม่สวยงาม
2. การเดินท่อแบบฝัง คือ การเจาะสกัดผนัง แล้ว เดินท่อ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ฉาบปูนทับ หรือเดินซ่อนไว้ใต้ เพดานก็ได้ ซึ่งจะดูเรียบร้อยและสวยงาม แต่เมื่อมีปัญหาแล้ว จะซ่อมแซมยาก
- วิธีการเดินท่อประปาในส่วนที่อยู่ใต้ดิน
การเดินท่อประปาจะมีทั้งท่อส่วนที่อยู่บนดิน และบาง ส่วนจะต้องอยู่ใต้ดิน ในส่วนที่อยู่บนดิน อาจใช้ท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี (GAVANIZE) ก็ได้ แต่สำหรับท่อ ที่อยู่นอกอาคาร โดยเฉพาะท่อที่อยู่ใต้ดิน บริเวณใต้อาคาร ควรใช้ท่อ PE ท่อชนิดนี้ มีคุณสมบัติ พิเศษ ในการบิดงอโค้งได้ ในกรณีเดินผ่านเสาตอม่อ หรือคานคอดิน สำหรับท่อธรรมดา จะมีข้อต่อมากซึ่งเสียงต่อการรั่วซึม และที่ สำคัญ เมื่อมีการทรุด ตัวของอาคาร หากเป็นท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี จะ ทำให้ท่อแตกร้าวได้ แต่ถ้าเป็นท่อ PE จะมีความ ยืดหยุ่นกว่า ถึงแม้จะมีราคาที่สูง แต่ก็คุ้มค่า เพราะถ้าเกิดการรั่วซึมแล้วจะ ไม่สามารถทราบได้เลย เพราะอยู่ใต้ดิน
- วิธีการใช้สต๊อปวาล์ว เมื่อติดตั้งสุขภัณฑ์
โดยทั่วไปการติดระบบประปากับสุขภัณฑ์ เพียงต่อท่อ น้ำดีเข้ากับตัวเครื่องสุขภัณฑ์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าเกิด ปัญหาที่จะต้องการซ่อมแซม ก็จะต้องปิดมิเตอร์น้ำด้านนอก เพื่อหยุดการใช้น้ำ ซึ่งจะทำให้ภายในบ้านทั้งหมดไม่สามารถใช้ น้ำได้ ทางออกที่ดีก็คือ ให้เพิ่มสต๊อปวาล์วในบริเวณส่วนที่จ่าย น้ำเข้ากับสุขภัณฑ์ เพื่อที่เวลาทำการซ่อมแซม สามารถที่จะปิด วาล์วน้ำได้ โดยที่น้ำในห้องอื่นๆ ก็ยังสามารถใช้งานได้
- วิธีการตรวจสอบระบบประปา
ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในบ้าน โดยปิดก็อกที่มีอยู่ ทั้งหมดแล้วสังเกตที่มาตรวัดน้ำ ถ้าตัวเลขเคลื่อน แสดงว่า มีการรั่วไหลเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการรั่วซึม หรือมีอุปกรณ์ บางอย่างแตกหักหรือชำรุด ก็จัดการหาช่างมาแก้ไขให้เรียบร้อย นอกจากภายในบ้านแล้ว ยังสามารถตรวจสอบการรั่ว ไหลของน้ำในเส้นท่อที่อยู่นอกบ้าน โดยสังเกตพื้นดินบริเวณ ท่อแตกรั่วนั้น จะมีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา และบริเวณนั้นจะ ทรุดตัวต่ำกว่าที่อื่น นั่นคือสาเหตุที่ทำให้น้ำประปาไหลอ่อน ลง ก็ควรแจ้งไปยังสำนักงานประปาในเขตนั้น
สร้างบ้านเชียงราย
สร้างบ้านเชียงใหม่
สร้างบ้านน่าน
สร้างบ้านพะเยา
สร้างบ้านแพร่
สร้างบ้านแม่ฮ่องสอน
สร้างบ้านลำปาง
สร้างบ้านลำพูน
สร้างบ้านอุตรดิตถ์
สร้างบ้านกาฬสินธุ์
สร้างบ้านขอนแก่น
สร้างบ้านชัยภูมิ
สร้างบ้านนครพนม
สร้างบ้านนครราชสีมา
สร้างบ้านบึงกาฬ
สร้างบ้านบุรีรัมย์
สร้างบ้านมหาสารคาม
สร้างบ้านมุกดาหาร
สร้างบ้านยโสธร
สร้างบ้านร้อยเอ็ด
สร้างบ้านเลย
สร้างบ้านสกลนคร
สร้างบ้านสุรินทร์
สร้างบ้านศรีสะเกษ
สร้างบ้านหนองคาย
สร้างบ้านหนองบัวลำภู
สร้างบ้านอุดรธานี
สร้างบ้านอุบลราชธานี
สร้างบ้านอำนาจเจริญ
สร้างบ้านกำแพงเพชร
สร้างบ้านชัยนาท
สร้างบ้านนครนายก
สร้างบ้านนครปฐม
สร้างบ้านนครสวรรค์
สร้างบ้านนนทบุรี
สร้างบ้านปทุมธานี
สร้างบ้านพระนครศรีอยุธยา
สร้างบ้านพิจิตร
สร้างบ้านพิษณุโลก
สร้างบ้านเพชรบูรณ์
สร้างบ้านลพบุรี
สร้างบ้านสมุทรปราการ
สร้างบ้านสมุทรสงคราม
สร้างบ้านสมุทรสาคร
สร้างบ้านสิงห์บุรี
สร้างบ้านสุโขทัย
สร้างบ้านสุพรรณบุรี
สร้างบ้านสระบุรี
สร้างบ้านอ่างทอง
สร้างบ้านอุทัยธานี
สร้างบ้านจันทบุรี
สร้างบ้านฉะเชิงเทรา
สร้างบ้านชลบุรี
สร้างบ้านตราด
สร้างบ้านปราจีนบุรี
สร้างบ้านระยอง
สร้างบ้านสระแก้ว
สร้างบ้านกาญจนบุรี
สร้างบ้านตาก
สร้างบ้านประจวบคีรีขันธ์
สร้างบ้านเพชรบุรี
สร้างบ้านราชบุรี
สร้างบ้านกระบี่
สร้างบ้านชุมพร
สร้างบ้านตรัง
สร้างบ้านนครศรีธรรมราช
สร้างบ้านนราธิวาส
สร้างบ้านปัตตานี
สร้างบ้านพังงา
สร้างบ้านพัทลุง
สร้างบ้านภูเก็ต
สร้างบ้านระนอง
สร้างบ้านสตูล
สร้างบ้านสงขลา
สร้างบ้านสุราษฎร์ธานี
สร้างบ้านยะลา
สร้างบ้านกรุงเทพมหานคร
สร้างบ้านคลองสาน
สร้างบ้านคลองสามวา
สร้างบ้านคลองเตย
สร้างบ้านคันนายาว
สร้างบ้านจอมทอง
สร้างบ้านดอนเมือง
สร้างบ้านดินแดง
สร้างบ้านดุสิต
สร้างบ้านตลิ่งชัน
สร้างบ้านทวีวัฒนา
สร้างบ้านทุ่งครุ
สร้างบ้านธนบุรี
สร้างบ้านบางกอกน้อย
สร้างบ้านบางกอกใหญ่
สร้างบ้านบางกะปิ
สร้างบ้านบางคอแหลม
สร้างบ้านบางซื่อ
สร้างบ้านบางนา
สร้างบ้านบางพลัด
สร้างบ้านบางรัก
สร้างบ้านบางเขน
สร้างบ้านบางแค
สร้างบ้านบึงกุ่ม
สร้างบ้านปทุมวัน
สร้างบ้านประเวศ
สร้างบ้านป้อมปราบศัตรูพ่าย
สร้างบ้านพญาไท
สร้างบ้านพระนคร
สร้างบ้านพระโขนง
สร้างบ้านภาษีเจริญ
สร้างบ้านมีนบุรี
สร้างบ้านยานนาวา
สร้างบ้านราชเทวี
สร้างบ้านราษฎร์บูรณะ
สร้างบ้านลาดกระบัง
สร้างบ้านลาดพร้าว
สร้างบ้านวังทองหลาง
สร้างบ้านวัฒนา
สร้างบ้านสวนหลวง
สร้างบ้านสะพานสูง
สร้างบ้านสัมพันธวงศ์
สร้างบ้านสาทร
สร้างบ้านสายไหม
สร้างบ้านหนองจอก
สร้างบ้านหนองแขม
สร้างบ้านหลักสี่
สร้างบ้านห้วยขวาง
สร้างบ้านเมืองนครปฐม
สร้างบ้านกำแพงแสน
สร้างบ้านดอนตูม
สร้างบ้านนครชัยศรี
สร้างบ้านบางเลน
สร้างบ้านพุทธมณฑล
สร้างบ้านสามพราน
สร้างบ้านเมืองนนทบุรี
สร้างบ้านบางกรวย
สร้างบ้านบางบัวทอง
สร้างบ้านบางใหญ่
สร้างบ้านปากเกร็ด
สร้างบ้านไทรน้อย
สร้างบ้านเมืองปทุมธานี
สร้างบ้านคลองหลวง
สร้างบ้านธัญบุรี
สร้างบ้านลาดหลุมแก้ว
สร้างบ้านลำลูกกา
สร้างบ้านสามโคก
สร้างบ้านหนองเสือ
สร้างบ้านเมืองสมุทรปราการ
สร้างบ้านบางพลี
สร้างบ้านบางเสาธง
สร้างบ้านพระประแดง
สร้างบ้านพระสมุทรเจดีย์
สร้างบ้านเมืองระยอง
สร้างบ้านนิคมพัฒนา
สร้างบ้านเขาชะเมา
สร้างบ้านบ้านฉาง
สร้างบ้านปลวกแดง
สร้างบ้านวังจันทร์
สร้างบ้านแกลง
สร้างบ้านเมืองชลบุรี
สร้างบ้านเกาะจันทร์
สร้างบ้านบางละมุง
สร้างบ้านบ่อทอง
สร้างบ้านบ้านบึง
สร้างบ้านพนัสนิคม
สร้างบ้านพานทอง
สร้างบ้านศรีราชา
สร้างบ้านสัตหีบ
สร้างบ้านหนองใหญ่
สร้างบ้านเกาะสีชัง
สร้างบ้านเมืองสมุทรสาคร
สร้างบ้านกระทุ่มแบน
สร้างบ้านบ้านแพ้ว
สร้างบ้านมหาชัย
สร้างบ้านเมืองสมุทร
สร้างบ้านอัมพวา
สร้างบ้านบางคนที
สร้างบ้านเมืองราชบุรี
สร้างบ้านบ้านคา
สร้างบ้านจอมบึง
สร้างบ้านดำเนินสะดวก
สร้างบ้านบางแพ
สร้างบ้านบ้านโป่ง
สร้างบ้านปากท่อ
สร้างบ้านวัดเพลง
สร้างบ้านสวนผึ้ง
สร้างบ้านโพธาราม
สร้างบ้านเมืองฉะเชิงเทรา
สร้างบ้านคลองเขื่อน
สร้างบ้านท่าตะเกียบ
สร้างบ้านบางคล้า
สร้างบ้านบางน้ำเปรี้ยว
สร้างบ้านบางปะกง
สร้างบ้านบ้านโพธิ์
สร้างบ้านพนมสารคาม
สร้างบ้านราชสาส์น
สร้างบ้านสนามชัยเขต
สร้างบ้านแปลงยาว
สร้างบ้านเมืองนครนายก
สร้างบ้านปากพลี
สร้างบ้านบ้านนา
สร้างบ้านองครักษ์