8 ข้อว่าที่บ่าวสาวต้องรู้ ก่อนจะจ้างช่างภาพวิดีโอมาถ่ายในงานแต่ง ปี2023
27 มีนาคม 2566
ผู้ชม 231 ผู้ชม
รับตัดต่อวีดีโอ รับผลิตวีดีโอ พรีเซนเทชั่น คลิปโปรโมทสินค้า แนะนำองค์กร ฯลฯ ด้วยทีมงานคุณภาพ Vdo presentation,วีดีโอพรีเซ็นเตชั่น ราคาพิเศษ คุณภาพสูง
รับทำ slide show ถ่ายทำ MV ตัดต่อ ภาพประกอบเพลง
รับถ่ายภาพงานแต่งงาน ถ่ายรูป pre wedding นอกสถานที่ ถ่ายภาพพรีเวดดิ้ง
รับงานถ่ายภาพ วีดีโอทางอากาศ
บริการจัดหาช่างภาพ
ช่างวีดีโอ รับถ่ายวีดีโอ
รับถ่ายภาพ งานแต่งงาน Wedding Cinema
หาช่างภาพหาช่างวีดีโอ
รับถ่ายวีดีโอ ถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ
ถ่ายภาพงานแต่งงาน
ช่างภาพ ช่างถ่ายรูปางภาพ
ผลงานวีดีโอถ่ายรูปแต่งงาน Pre wedding
ชมผลงานถ่ายวีดีโอโดรน
ผลงานรับตัดต่อวีดีโอ
รับทำ MV/หนังสั้น Short Film / โฆษณา ราคาพิเศษ
ผลิตวีดีโอทุกชนิด Tagged ช่างภาพวีดีโอ, ช่างวีดีโอ, ถ่ายmv ไม่แพง, ถ่ายโปรเจคส่งอาจารย์, รับถ่าย mvรับทำ MV หนังสั้น ตัดต่อวีดีโอ ราคาถูก คุณภาพสูง SoundhotFilm Studio รับถ่าย MV/หนังสั้น พร้อมแต่งพล็อตเรื่องให้ตามความยาวเพลงหรือหนังให้ฟรี
ชมผลงานเพิ่มเติมที่
8 ข้อว่าที่บ่าวสาวต้องรู้ ก่อนจะจ้างช่างภาพวิดีโอมาถ่ายในงานแต่ง
1. มีผลงานให้ดูไหม แล้วผลงานต่างจากเจ้าอื่นอย่างไร
การขอดูผลงานจริงจะช่วยทำให้คุณตัดสินใจจ้างได้ง่ายที่สุด เพราะจะทำให้คุณรู้ว่าช่างภาพที่คุณจะจ้างถนัดถ่ายวิดีโอแนวไหน มีมุมมองและฝีมือการถ่ายเป็นอย่างไร มีจุดเด่น-จุดด้อยตรงไหน รวมถึงควรจะถามถึงความแตกต่างของช่างภาพว่ามีความต่างจากเจ้าอื่นอย่างไร เพื่อที่จะได้นำมาเปรียบเทียบหาช่างภาพวิดีโอที่ตอบโจทย์คุณที่สุด
2. ตารางงานยังว่างอยู่ใช่ไหม
วันที่ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่สำคัญ เพราะถ้าหากเราถูกใจกับผลงานของช่างภาพคนนั้นๆ แต่ถ้าหากเขาไม่ว่าง คุณก็จะเกิดอาการนก (อด) เอาได้ ยิ่งถ้าคุณต้องการช่างภาพฝีมือดีและวันงานตรงกับช่วงยอดฮิตแล้วละก็ คุณก็จะต้องวางแผนเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะจองคิวช่างภาพได้ทันนั่นเอง
3. เคยถ่ายวิดีโอที่นี่หรือเปล่า
การทำงานในสถานที่ที่คุ้นเคยก็เหมือนกับได้ร่วมงานกับคนรู้ใจ เพราะว่าความเคยชินจะทำให้ช่างภาพรู้มุม การจัดแสง รวมถึงข้อห้ามต่างๆ ของสถานที่นั้นๆ เป็นอย่างดีนั่นเอง
4. ระหว่างพิธีมีใช้กล้องกี่ตัว ช่างภาพกี่คน แล้วมีคนสำรองไหม
จำนวนกล้องและช่างภาพก็มีผลต่อการเก็บภาพ เพราะถ้าเป็นงานแต่งขนาดใหญ่แล้วมีช่างภาพและกล้องน้อย จะทำให้ไม่สามารถเก็บภาพบรรยากาศของงานได้ทั้งหมด และการถามถึงคนสำรองก็เพื่อที่ว่าหากช่างภาพเกิดอุบัติเหตุทำให้ไม่สามารถมางานได้ ก็จะได้มีคนสำรองเปลี่ยน ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
5. มีการใช้อุปกรณ์เสริมไหม
บางงานอาจต้องมีการใช้เทคนิคหรือเครื่องมือพิเศษมาใช้ในการถ่ายทำ และไม่ว่าคุณจ้างช่างจากสตูดิโอขนาดเล็กหรือใหญ่ ก็ควรจะถามเพิ่มเติมให้เคลียร์ด้วยว่า อุปกรณ์เสริมเหล่านั้นทางสตูดิโอมีเอง หรือว่าต้องไปเช่าจากที่อื่น และถ้าหากไปเช่าใครเป็นคนจ่าย อาจจะให้ระบุคำตอบลงในสัญญาจ้างก็ได้เพื่อความชัวร์นั่นเอง
6. มีแพ็คเกจอะไรนำเสนอบ้าง
นอกจากจะเลือกจากผลงานแล้ว ตัวแพ็คเกจที่แต่ละสตูดิโอทำออกมา เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นตัวดึงดูดความน่าสนใจได้ไม่น้อย เราไม่ควรดูแค่ว่าของที่เขาเสนอมาคุ้มหรือไม่คุ้ม เพราะมีหลายๆ ครั้งที่ดูเหมือนจะคุ้ม พอเอาเข้าจริงๆ กลับต้องจ่ายยิบจ่ายย่อยกลายเป็นเบี้ยหัวแตก หรือแพ็คเกจราคาถูกได้อ๊อฟชั่นเยอะแต่ต้องแลกกับของที่ไม่มีคุณภาพ เพราะฉะนั้นทางที่ดีควรเลือกแพ็คเกจที่ดูสมน้ำสมเนื้อ และวินวินทั้งสองฝ่าย
7. ใช้เวลาตัดต่อนานไหม เมื่อไหร่จะได้ไฟล์
ควรถามให้แน่ชัดว่าจะใช้เวลาในการตัดต่อนานแค่ไหน และเมื่อทราบคำตอบแล้วว่าเมื่อไหร่ ก็ควรจะรอให้ถึงตามกำหนดก่อน ไม่ควรโทรตามจิกกับสตูดิโอ เพราะจะทำให้คนตัดต่อรู้สึกกดดัน และทำให้งานที่ออกมาไม่มีคุณภาพ แล้วจะทำให้บ่าวสาวเกิดอาการนอยด์ซะเปล่าๆ
8. รายละเอียดค่าใช้จ่ายและการจ่ายชำระ
นอกจากจะคุยกันเรื่องรายละเอียดต่างๆ แล้ว เรื่องเงินๆ ทองๆ อย่างค่าใช้จ่าย ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณต้องใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง ต้องรู้ว่าเงินที่เราจ่ายมีค่าอะไรบ้าง เป็นเงินเท่าไหร่ รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระเงิน ว่าจะให้แบ่งชำระแบบไหน เป็นงวดๆ หรือจ่ายเป็นก้อนเดียวจบ
เทคนิค การถ่ายวีดีโอ ขึ้นพื้นฐาน
1. การแพน ( Pan) เป็นวิธีการเคลื่อนที่กล้องถ่ายในลักษณะการส่ายกล้องเคลื่อนที่ไปในแนวนอนหรือ
แนวราบ ( Horizontal) อาจเริ่มจากซ้ายไปขวา ( Pan Right) หรือจากขวาไปซ้าย ( Pan Left) ก็ได้
วัตถุประสงค์ของการแพนกล้องอาจเกิดขึ้นได้จากวัตถุประสงค์ของการน าเสนอหลายประการ เพื่อให้เกิด
ความสัมพันธ์หรือเกิดเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ถ่ายสองสิ่งอยู่ห่างกัน หรือพื้นที่ของการถ่ายที่แยกอยู่ห่างกัน
2. การซูม ( Zoon) สามารถสามารถเปลี่ยนขนาดภาพขณะก าลังบันทึกภาพโดยไม่ต้องเคลื่อนไหวกล้องหรือ
เปลี่ยนต าแหน่งการตั้งกล้อง ลักษณะการเปลี่ยนขนาดภาพถ้าเปลี่ยนจากภาพขนาดมุมกว้างมาเป็นมุมแคบ
จะเรียกว่า Zoon in ถ้าตรงข้ามกันจะเรียกว่า Zoom out ผลที่เกิดในความรู้สึกของผู้ชม คือ จะรู้สึกว่าสิ่ง
ที่ถ่ายถูกดึงเข้ามาใกล้ตัวหรือถอยห่างออกไป เกิดกาเคลื่อนไหวขึ้นในภาพ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง
ขนาดของภาพอย่างต่อเนื่อง
3. การทิลท์ ( Tilting) เป็นการเคลื่อนไหวกล้องอีกลักษณะหนึ่ง เช่นเดียวกันกับการแพนแต่เป็นการแพน
โดยวิธีการเคลื่อนกล้องในแนวดิ่ง วิธีการถ่ายภาพในแบบการทิลท์กล้องถ่ายยังคงรักษาระดับต าแหน่งความ
สูง – ต่ า คงที่จะเปลี่ยนแปลงไปก็แต่เพียงมุมการบันทึกภาพเท่านั้น ที่ถูกขยับไปในองศาที่สูงขึ้นกว่าเดิม
หรือองศาถูกกดต่ ากว่าเดิม ซึ่งกระท าได้โดยการกระดกกล้องถ่ายภาพขึ้นหรือค่อย ๆ กดกล้องให้มุมรับภาพ
ลงต่ าในระหว่างการถ่ายท าถ้าหากในขณะที่ท าการถ่ายภาพผู้ถ่ายกระดกกล้องถ่ายภาพให้สูงขึ้นกว่าระดับ
เดิมจะโดยเหตุผลของการน าเสนอภาพเพื่อผลในการใดก็ตามดังที่กล่าวมาแล้วเรียกกันว่า ทิลท์-อัพ ( Tiltup) และในทางกลับกัน ถ้าหากกดกล้องให้มุมรับภาพค่อย ๆ เปลี่ยนในทิศทางที่ต่ าลงกว่าเดิมเรียกว่า
ทิลท์-ดาวน์ ( Tilt Down)
4. การดอลลี่ ( Dollying) เป็นวิธีการเคลื่อนไหวกล้องในรูปแบบการตั้งอยู่บนพาหนะที่มีล้อซึ่งเคลื่อนไปมา
บนพื้น หรือเลื่อนไปตามราง ท าให้สามารถเคลื่อนที่ตามภาพเหตุการณ์ได้ในมุมมองต่าง ๆ กัน เหมาะ
ส าหรับการบันทึกภาพอย่างต่อเนื่องเป็นช๊อตยาวดอลลี่จะมีลักษณะการเคลื่อนกล้องเข้าหาสิ่งที่ถ่าย เรียกว่า
ดอลลี่อิน( Dolly in) และถ้าเคลื่อนกล้องถอยห่างจากสิ่งที่ถ่าย เรียกว่า Dolly out
5. การแทคกล้อง ( Trucking or Tracking) เป็นการเคลื่อนไหวของกล้องในลักษณะและวิธีการเคลื่อนไหว
ในรูปแบบคล้ายกับดอลลี่ แตกต่างกันในเรื่องของการก าหนดทิศทางเท่านั้น ทิศทางของการทรักต์ จะใช้
การเคลื่อนกล้องในแนวทางข้างเคียงสิ่งที่ถ่าย ในบางกรณี การเคลื่อนที่ของกล้องอาจไม่เป็นแนวตรงแต่จะ
เคลื่อนในลักษณะเฉียงโค้ง ( Curve Track) ในบางครั้งการน าเสนอภาพในรูปแบบการทรักต์จะใช้การ
เคลื่อนที่ตามขนานกับสิ่งที่ถ่ายอาจเป็นระดับการเคลื่อนไหวที่คู่เคียงกันไป หรือต าแหน่งของกล้องล้ าหน้า
วัตถุเคลื่อนทีตามนอกจากนี้แล้วยังน ามาใช้เพื่อการเปลี่ยนต าแหน่ง และทิศทางของกล้องเพื่อก าหนด
รูปแบบของการน าเสนอภาพในแนวทางใหม่ เป็นการหลีกเลี่ยงความซ้ าซากน่าเบื่อหน่ายของสิ่งที่ถ่าย