ขั้นตอนการดีดบ้านปูนสองชั้นแบบไหน ปี 2023
21 มีนาคม 2566
ผู้ชม 413 ผู้ชม
ติดต่อช่างดีดยกบ้าน
ขั้นตอนการดีดบ้านปูนสองชั้น
ขั้นตอนที่ 1
ขุดเจาะรอบตัวบ้านให้พบถึงคานคลอดิน แล้วเทฐาน สำหรับรองรับ การตั้งเครื่องมือประกอบการดีดบ้าน เพื่อการประกอบเครื่องมือจะได้แน่นหนาไม่มีการทรุดเอียงแต่อย่างใด พร้อมที่จะทำงานได้อย่างมั่นใจปลอดภัย
ข้อสำคัญ การเทฐานรอบตัวบ้านนี้ สามารถล็อกคานและเสาตอม่อของตัวบ้านไม่ให้มีการ ทรุดเอียง แต่อย่างใด เวลา ตัวบ้านดีดขึ้นเสร็จ
ขั้นตอนที่ 2
ประกอบเครื่องมือเข้ากับตัวบ้าน ล็อกให้แน่นหนาถาวร และลัดกุมอย่างไม่มีการติดขัด มั่นคงและแข็งแรง จนสามารถที่จะดีดตัวบ้านขึ้นได้
ขั้นตอนที่ 3
ทำการดีดบ้าน ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ที่ทีมงานเราได้ประกอบไว้อย่างแข็งแรง แน่นหนาและ ลัดกุม เมื่อถึงระดับ ที่ ต้องการจะทำการเช็คปรับระดับเสาทุกต้นให้อยู่ในระดับเดียวกันเพื่อไม่ให้มีการทรุดเอียง ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยของเรา
ขั้นตอนที่ 4
ทำการเชื่อมต่อเสาตอม่อ โดยเชื่อมจากรากฐานของเสาตอม่อตัวล่างเดิมเพื่อความมั่นคง และแข็งแรง พร้อมทั้ง ประกอบแบบเทเสาตอม่อให้กับที่ ใหญ่กว่าเดิมสามารถรับน้ำหนักตัวบ้านได้อย่างมั่นคง แน่นหนาถาวรตลอดไป
ขั้นตอนที่ 5
ทำการถอดแบบเสาตอม่อ และถอดเครื่องมือออกจากตัวบ้าน พร้อมขึ้นอยู่อย่างมั่นคงและแข็งแรง แน่นหนาถาวร อย่างสบายใจตลอดไป
หลักการดีดบ้าน ดีดอย่างไรให้ปลอดภัยไม่มีความเสี่ยงบ้านพัง
ว่ากันด้วยเรื่องปัจจัยสำคัญที่ทำให้การ ดีดบ้าน เกิดความเสียหาย นั้นหลายๆท่านอาจจะคิดไม่ถึงว่า แม่แรงนั้นเป็นตัวแปรสำคัญนั้นก็เพราะว่าแม่แรงไม่สามารถรับน้ำหนักตัวบ้านได้ รอกยกไม่ได้มาตรฐาน ความเชี่ยวชาญของทีมงาน ซึ่งเมื่อเกิดเหตุขึ้นผลมักออกมาอย่างที่เราเห็นกันตามข่าว ซึ่งการดีดบ้านอย่างไรให้ปลอดภัย นั้นมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไรและแบบไหนที่เราควรจะทราบไว้เป็นความรู้เบื้องต้น คือ อันดับแรก การเลือกผู้รับเหมาที่มีความสามารถจริงๆ มีความรู้ทั้งการก่อสร้าง และ วิศวกรรม มีผลงานการดีดบ้านที่เสร็จสมบูรณ์และปลอดภัย ใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย มีการวางแผนการทำงาน การคำนวณจุดที่ต้องตัดและยกตามหลักวิศวกรรม ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้เราสามารถสอบถามได้จากผู้รับเหมา หรือ บางคนใช้วิธีหาจากอินเตอร์เน็ตซึ่งเราสามารถดูผลงานที่ผ่านมาได้ ดูรายละเอียดคร่าวๆได้
ดีดบ้าน อย่างไรให้ปลอดภัย
การ ดีดบ้าน ให้ปลอดภัย สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแรกเลยคือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยและได้มาตรฐานแต่ส่วนใหญ่ที่เรามักเห็นกันนั้นคือการดีดบ้านในแบบธรรมดาตามภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้อุปกรณ์ที่ธรรมดา เช่น แม่แรง รอก และ อุปกรณ์การตัดต่างๆ นอกจากนี้การวางแผนการทำงาน การวางผังสำหรับเสริมฐานรากใหม่ก็สคัญมากๆเพราะว่า
ต้องคำนวณจุดต่างๆที่จะตัดและยกดีดตัวบ้านขึ้นสูง ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญความเชี่ยวชาญและอุปกรณ์ที่พร้อมดังนั้นงผู้รับเหมาเองต้องเชี่ยวชาญจริงๆสามารถยกดีดบ้านของลูกค้าได้อย่างปลอดภัย ต้องมีการดูลักษณะของบ้าน ดูแผนผังหรือพิมพ์เขียวของบ้านที่ต้องการดีด (ถ้ามี) ต้องคำนวนว่าสามารถยกได้สูงเท่าไหร่จึงจะปลอดภัย การเสริมฐานรากนั้นต้องทำแบบไหนถึงจะรับน้ำหนักตัวบ้านได้ปลอดภัย พร้อมกับรองรับการทรุดตัวของพื้นดินและแรงสั่นสะเทือนได้
ตัวอย่างการดีดบ้าน ให้ปลอดภัย
ต้องขุดดินเพื่อที่จะดีดบ้านเจาะรอบๆตัวบ้านจนถึงฐานของคานที่อยู่ใต้ดิน สร้างฐานรองรับอุปกรณ์ในการดีดบ้านคือแม่แรงที่ต้องใช้แม่แรงที่ได้มาตรฐานเช่น แม่แรงไฮโดรลิค ตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์อย่างถี่ถ้วนว่าวางถูกต้องตามจุดต่างๆ ยึดอุปกรณ์ให้แน่นหนา ตรวจสอบฐานอุปกรณ์ว่าอยู่ในระดับเดียวกันทั้งหมด รวมทั้งจุดที่ยึดกับตัวบ้าน เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยจึงทำการยกบ้านในทุกๆจุดพร้อมๆกันซึ่งหากเป็นแม่แรงไฮโครลิคจะมีเครื่องมือควบคุมทำให้สามารถดีดบ้านขึ้นพร้อมกันได้ทุกจุด เมื่อดีดบ้านขึ้นแล้วก็จะเช็คระดับความสูง เช็คระดับฐานราก ว่าอยู่ในจุดที่ต้องการหรือไม่ มีการเอียงตรงจุดไหนหรือเปล่า หากเรียบร้อยดีก็สามารถทำการเชื่อมฐานรากใหม่ เสริมความแข็งแรงและความสูงของเสาใหม่ให้เรียบร้อยและปรับปรุงพื้นที่ใต้บ้านตามที่ต้องการ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สรุปได้เลยว่า ควรจะต้องการผู้รับเหมาที่มีความชำนาญพร้อมอุปกรณ์ที่พร้อมจริงๆ จึงจะทำการดีดบ้านให้เสร็จสมบูรณ์ได้อย่างปลอดภัยและ ผู้รับเหมาต้องคำนวณระยะการดีด การเสริมเสาเข็ม ให้ละเอียดเพื่อความปลอดภัยอีกด้วย
รู้ก่อนสร้าง...เตรียมพื้นที่อย่างไร ป้องกันโพรงใต้บ้านระยะยาว
สร้างบ้านหนึ่งหลัง มีปัจจัยต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงมากมาย ทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาด้วยเช่นกัน อาทิ ปัญหาดินทรุดจนโพรงใต้บ้าน ซึ่งสามารถป้องกันได้เมื่อมีการเตรียมพื้นที่ให้พร้อมอย่างดีก่อนเริ่มก่อสร้างบ้าน
การป้องกันโพรงที่มีโอกาสเกิดขึ้นภายหลังการสร้างบ้านนั้น เจ้าของบ้านอาจเตรียมการตั้งแต่ขั้นตอนการถมดิน หรือการวางเสาเข็มก่อนสร้างบ้าน โดย 2 วิธีนี้มีข้อควรรู้ที่แตกต่างกัน
1. การถมดินก่อนสร้าง ป้องกันโพรงใต้บ้านการถมดินนอกจากจะเป็นการยกระดับความสูงของพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำท่วม หรือการวางท่อระบายน้ำภายในบ้านให้อยู่สูงกว่าถนนแล้ว ยังเป็นการช่วยเร่งการทรุดตัวของพื้นดินเดิม เนื่องจากมีน้ำหนักไปกดทับพื้นดินเดิมที่ยังไม่แน่นดีให้ยุบตัวลงไปเร็วขึ้น
ทั้งนี้การสร้างบ้านบนที่ดินเปล่า จะลดปัญหาการเคลียร์พื้นที่ และมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ซึ่งเจ้าของบ้านควรให้ความสำคัญกับการปรับระดับพื้นที่ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ คือ
1.1 ลักษณะพื้นที่ที่จะถมดิน
ควรตรวจสอบลักษณะพื้นที่เบื้องต้น เพื่อประกอบการกำหนดระดับความสูงของดินที่จะถม
สังเกตต้นไม้ที่ขึ้นในที่ดินแปลงนั้น
ต้นกระถินหรือมะขามเทศ แสดงว่าพื้นดินบริเวณนั้นแห้ง
ต้นกก อ้อ ธุปฤาษี แสดงว่าเป็นพื้นที่บริเวณนั้นมีความชื้นแฉะสูง สภาพดินมีความอ่อนตัว
สอบถามสภาพพื้นที่จากผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้น เช่น การเกิดน้ำท่วม มีความสูงเท่าไร ใช้เวลาแห้งนานแค่ไหน หรือพื้นที่มีน้ำท่วมขังตลอดหรือไม่ เพราะจะส่งผลให้ดินมีความอ่อนตัวสูง และแปรสภาพเป็นดินโคลนหรือเลน หากเป็นเช่นนั้นจะทำให้มีค่าถมที่สูง ใช้เวลาให้ดินแน่นนาน เพราะการเผื่อค่ายุบตัวของดินก็จะถูกประเมินสูงกว่าที่ดินที่มีสภาพแห้งกว่า
1.2 ความสูงของพื้นที่ที่จะถม
การถมที่ดินนั้นจะต้องมีการกำหนดระยะความสูงของดินที่จะถม ซึ่งควรพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ระดับของพื้นถนน ระดับของพื้นที่ปกติที่น้ำท่วมถึง ความสูงของบ้านหลังอื่นๆ หรือพื้นที่ดินเปล่า ซึ่งในอนาคตอาจมีสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะถูกถมที่ให้สูงกว่าเดิมด้วย
โดยทั่วไป การถมที่ดินจะให้มีความสูงกว่าถนนประมาณ 50-80 เซ็นติเมตร หรือบางพื้นที่ที่อาจต้องถมดินให้สูงถึง 1 เมตร เพื่อเผื่อไว้สำหรับการยุบตัวของดินในอนาคต
1.3 ระยะเวลาการทิ้งพื้นที่ไว้
สำหรับบ้านที่ถมดินเรียบร้อยแล้ว ไม่ควรดำเนินการสร้างบ้านทันที ทิ้งระยะเวลาให้ผ่านไประยะหนึ่ง เพื่อให้หน้าดินมีการเซตตัวและไม่เกิดการทรุดตัวมากในระยะยาว
การถมดินยิ่งสูงจากระดับเดิมมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสทรุดตัวได้มากเท่านั้น ดังนั้นจึงควรถมทิ้งไว้ก่อนสร้างบ้าน 6 – 12 เดือน หรือหากมีเวลาน้อยอาจใช้ใช้รถบดอัดดินช่วยร่นเวลา หรือจะทั้งทิ้งระยะเวลา และบดอัดไปด้วยก็ยิ่งได้ผลดี
ข้อควรคำนึงในการถมที่ดิน
สำหรับบ้านที่สร้างจากพื้นที่เดิมที่อาจมีการทุบหลังเก่าสร้างหลังใหม่ เมื่อมีการถมที่เพิ่มเติมอาจมีการใช้เศษอิฐ เศษคอนกรีต จากการทุบหลังเก่ามาถมที่ดิน ซึ่งกรณีนี้จะทำให้เกิดปัญหาการทรุดตัวของดินมากกว่าปกติ เนื่องจากเศษวัสดุเหล่านั้นจะไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกับดิน มีการเกยกันเป็นเป็นช่องว่าง และเมื่อระยะเวลาผ่านไปหากมีน้ำซึมผ่านจะพาดินไหลลงมาแทนที่ช่องว่าง ทำให้เกิดการทรุดตัวเป็นหลุมหรือโพรงใต้บ้านได้
การถมดินหากเลือกระยะเวลาได้ ควรดำเนินการในช่วงหน้าฝน เพราะน้ำฝนที่ไหลแทรกระหว่างเนื้อดินจะเป็นตัวช่วยให้ดินยุบตัวและแน่นขึ้น
2. การวางฐานโครงสร้างตั้งแต่เริ่มต้น
การป้องกันดินทรุดตัวจนเกิดโพรงใต้บ้านนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือการมีเสาเข็มรองรับน้ำหนัก ซึ่งโดยทั่วไปโครงสร้างบ้านจะถูกกำหนดให้มีเสาเข็มยาวลึกลงไปถึงชั้นดินดานหรือชั้นทรายเฉลี่ยประมาณ 18 - 21 เมตร ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์หาค่าสมบัติทางวิศวกรรมของชั้นดิน ซึ่งจะถูกนำมา คำนวณออกแบบความสามารถการรับน้ำหนักบรรทุกของชั้นดินได้อย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรมมากที่สุด เพื่อรองรับน้ำหนักตัวบ้านไว้
ข้อควรคำนึงในการวางเสาเข็ม
พื้นที่ดินบางแปลงอาจเคยเป็นบ่อ หนอง คลอง บึง หรือบ่อทิ้งขยะเก่า การก่อสร้างบ้านบริเวณนี้ควรมีการเจาะสำรวจชั้นดิน ไม่ควรใช้วิธีเทียบเคียงจากพื้นที่ข้างๆ เนื่องจากความลึกของเสาเข็มอาจไปอยู่ตำแหน่งตรงกับบ่อขยะเก่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปขยะมีการย่อยสลาย จะทำให้เสาเข็มทรุดตัวได้
การเตรียมพื้นที่ให้พร้อมก่อนสร้างบ้านเป็นสิ่งสำคัญ หากเจ้าของบ้านมีการเตรียมพร้อมในส่วนของที่ดินตั้งแต่เนิ่นๆ และมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา และแนะนำอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นวิศวกร สถาปนิก หรือผู้ให้บริการบริษัทรับสร้างบ้าน จะช่วยให้การวางรากฐานสำหรับการสร้างบ้านนั้นมีมาตรฐานและแข็งแรงยิ่งขึ้น