3 วิธีแก้ปัญหา เมื่อถนนสูงกว่าบ้านเรา
24 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้ชม 253 ผู้ชม
ติดต่อช่างดีดยกบ้าน
3 วิธีแก้ปัญหา เมื่อถนนสูงกว่าบ้านเรา
ปัญหาบ้านเบสิคที่มักเกิดกับตึกแถว หรือบ้านเก่าที่ตั้งอยู่ริมถนน คือปัญหาเสียงรบกวนและฝุ่นควันจากรถราที่ใช้เส้นทาง ถ้าใกล้ถนนสายหลักมีรถใหญ่วิ่งผ่าน บ้านจะสั่นไหวทำให้เกิดปัญหาบ้านร้าวได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อใดที่มีการเทปรับระดับความสูงถนนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๆ ก็ครั้งละประมาณหนึ่งฟุต หรือทำถนนใหม่ขึ้นมา พื้น บ้านชั้นล่างจะมีระดับต่ำกว่าถนนทันที
ปัญหาจะเกิดเมื่อฝนตกหนัก น้ำระบายไม่ทัน ก็จะเอ่อไหลเข้าท่วมพื้นบ้านชั้นล่าง แม้บ้านบางหลังเตรียมรับมือปัญหานี้เอาไว้ล่วงหน้าด้วยการหล่อแนวขอบคัน คอนกรีตกั้นน้ำเตรียมไว้ ก็ยังมีน้ำซึมจากพื้นบ้านตามขอบมุมที่พื้นชนผนังและยาแนวกระเบื้องได้
ดังนั้นเมื่อถนนสูงกว่าบ้าน จะมีแนวทาง 3 ประการในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
1. แก้ปัญหาบ้านโดยการปรับยกระดับพื้นบ้าน
บางบ้านอาจทำการยกระดับพื้นบ้านชั้นล่าง ให้มีความสูงอย่างน้อยเท่ากับระดับถนน วิธีแก้ปัญหาบ้านวิธีนี้เหมาะกับระดับความสูงที่ต่างกันไม่มากนัก ประมาณครึ่งถึงหนึ่งฟุต เพราะเมื่อปรับพื้นบ้านสูงขึ้นย่อมทำให้ความสูงโดยรวมภายในห้องลดลง ปัญหาที่จะตามมาคือเพดานที่ดูเตี้ยลงจะทำให้รู้สึกอึดอัด
หน้าต่างเตี้ยลงทำให้คนภายนอกมองเห็นภายในบ้านได้มากขึ้นและน่าเป็นห่วง เรื่องความปลอดภัย อาจจะต้องถอดบานประตูออกมาตัดช่วงล่างออกให้พอดีกับความสูงของพื้นที่เพิ่มขึ้น
ปลั๊กไฟที่เคยสูงกว่าพื้นเล็กน้อยก็จำเป็นจะต้องย้ายมาติดตั้งในตำแหน่งที่สูงขึ้น
บันไดขึ้นชั้นบนจะหายไปทันทีหนึ่งถึงสองขั้น
ความต่างระดับของพื้นบ้านกับพื้นห้องน้ำก็จะทำให้ใช้งานสะดวกน้อยลง
สำหรับเจ้าของบ้านเดี่ยวที่พอจะมีงบประมาณมากหน่อยอาจเลือกใช้วิธีดีดยกบ้านทั้งหลังทีเดียว เป็นการตัดโครงสร้างช่วงเสาตอม่อแยกตัวบ้านออกจากฐานราก แล้วค้ำยกตัวบ้านขึ้นในระดับความสูงที่ต้องการด้วยค้ำยันไฮโดรลิค จากนั้นทำโครงสร้างเสริมรับส่วนเสาตอม่อที่ถูกตัดแยกออก ให้น้ำหนักตัวบ้านถ่ายลงฐานรากของบ้านดังเดิม
ซึ่งวิธีการนี้จะแก้ไขปัญหาเรื่องเพดาน หน้าต่างเตี้ย ย้ายปลั๊กไฟฟ้าได้ แต่ก็จำเป็นต้องมีวิศวกรตรวจสอบ ประเมินตัวบ้านก่อนว่าสามารถทำตามความต้องการเจ้าของบ้านได้มากน้อยเพียงใด และจะต้องมีวิศวกรควบคุมระหว่างงานก่อสร้างด้วย
ถ้าถนนสูงกว่าพื้นบ้านชั้นล่างครึ่งถึงหนึ่งเมตร ก็ควรพิจารณาความสูงของบ้านชั้นล่าง รวมทั้งประเด็นข้างต้นเสียก่อน ถ้าจะยกพื้นบ้านให้สูงขึ้นให้เท่าๆ กับถนน จะต้องทุบพื้นเก่าทิ้ง อาจหล่อคานปูนเสริมจากคานเดิมให้มีระดับสูงขึ้นหรือ ทำคานเหล็กยึดกับเสาบ้านที่ระดับความสูงที่ต้องการ จากนั้นทำพื้นบ้านชั้นล่าง โดยอาจเทพื้นปูน
อีกหนึ่งวิธีแก้ไขปัญหาสำหรับบ้านที่ถนนสูงกว่าพื้นบ้านชั้นล่างครึ่งถึงหนึ่งเมตร คือเลือกวางตงเหล็กพาดบนแนวคานชุดใหม่ แล้วปูแผ่นสมาร์ทบอร์ดเป็นพื้นในลักษณะพื้นโครงสร้างเบาก็ได้ แม้พื้นโครงสร้างเบาจะรับน้ำหนักบรรทุกได้น้อยกว่าพื้นปูน แต่ก็เพิ่มภาระน้ำหนักให้กับโครงสร้างบ้านเดิมน้อยกว่าพื้นปูนเช่นกัน
ดีดบ้าน” กับ 5 ข้อควรระวังก่อนตัดสินใจ จะได้ไม่เสียใจภายหลัง
ดีดบ้าน หรือ ยกบ้าน เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากหลังจากเหตุการณ์ปี 54 น้ำท่วมใหญ่หลายจังหวัด และยังคงเป็นฝันร้ายที่บางคนจำได้ไม่ลืม เพราะเกิดผลกระทบทำให้เสียทรัพย์สินจากน้ำท่วมเข้าบ้าน ประกอบกับสภาพภูมิประเทศของกรุงเทพฯและพื้นที่ชานเมืองโดยรอบเป็นที่ลุ่มต่ำแล้วยังถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำ ส่งผลให้เมื่อถึงฤดูมรสุมฝนตกหนัก บ้านที่อยู่ใกล้ริมน้ำมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเฉียบพลัน บางครั้งยังไม่ทันได้เก็บข้าวของน้ำก็เข้าถึงตัวบ้านแล้ว จากเหตุนี้เจ้าของบ้านหลายหลังจึงพยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีการ “ดีดบ้าน” หรือ “ยกบ้าน” ขึ้นนั่นเองเพราะเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาวและเป็นทางออกที่คิดว่าดีที่สุด แต่ก่อนที่คุณจะไปว่าจ้างผู้รับเหมามาดีดบ้าน ควรที่จะศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อการดีดบ้านอย่างถ่องแท้และละเอียดรอบคอบเสียก่อน มิเช่นนั้นอาจจะมาเสียใจในภายหลัง
1.ก่อนวางแผนจะดีดบ้าน ต้องรู้สภาพความพร้อมของบ้านให้ดี
เจ้าของบ้านบางคนคิดว่าถ้าต้องการดีดบ้านก็สามารถทำได้ง่ายๆ แค่จ้างช่างมายกแล้วก็เสริมเสาก็จบเรื่องแล้ว ในความเป็นจริงควรจะต้องพิจารณาถึงโครงสร้างบ้านเป็นอันดับแรกรวมทั้งต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้บ้านได้รับความเสียหาย หรือก่อให้เกิดอันตรายขึ้นในช่วงขณะที่ดีดบ้าน ซึ่งเรามักจะได้ยินข่าวบ่อยๆ ฉะนั้นถ้าทำการตรวจสอบแล้วพบว่ามีร่องรอยของการผุกร่อนในจุดใหญ่ๆ หรือมีปลวกกินหลายแห่ง แนะนำว่าไม่ควรที่จะดีดบ้านเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลเสียหายอย่างมหาศาลบ้านพังถล่มลงมาในขณะที่กำลังดีดบ้านได้ ทางที่ดีคือรื้อบ้านแล้วสร้างบ้านใหม่ด้วยการยกพื้นสูงขึ้นจะคุ้มกว่า ส่วนถ้าพบว่าเสาเข็มมีการทรุดอยู่ จำเป็นต้องลงเสาใหม่ก่อนทำการดีดบ้านด้วย
2.ก่อนดีดบ้าน วางแผนเรื่องงบประมาณเสียก่อน
หลายบ้านที่ต้องประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมบ้านบ่อยๆเรียกได้ว่าฝนตกทีไหร่น้ำรอการระบายไหลเข้าบ้านเสียทุกที จะขายบ้านหนีก็ไม่ได้ ทางออกที่ดีที่สุดก็คือซ่อมแซมต่อเติมบ้านให้สูงขึ้นแต่อาจยังตัดสินใจไม่ได้เกิดความลังเลว่าจะรื้อบ้านแล้วสร้างใหม่ดีหรือจะดีดบ้านให้สูงขึ้นอะไรจะเหมาะสมมากกว่า ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าเรื่องของค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณคือตัวแปรสำคัญ โดยส่วนใหญ่แล้วการจ้างเหมาราคาดีดบ้านที่เจ้าของบ้านจะต้องเตรียมเงินไว้ราวๆหลักแสน(ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพและความยากง่ายของการดีดบ้านแต่ละกรณีราคาก็จะไม่เท่ากัน)ซึ่งราคานี้จะบวกรวมกับค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง ยังมีค่ารายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องต่อเติมเพิ่มขึ้นหลังจากดีดบ้าน เช่น การสร้างบันได้ขึ้นบ้านหรือเทพื้นให้สูงขึ้นตาม เป็นต้น แต่ถึงแม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับการรื้อแล้วสร้างใหม่ย่อมถูกกว่าอย่างแน่นอน บางครั้งการรื้อสร้างใหม่อาจจะต้องเตรียบงบถึงหลักล้าน ดังนั้นหากใครมีงบประมาณจำกัด วิธีการดีดบ้านก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อยเลยทีเดียว
3.ก่อนดีดบ้าน อย่าลืมขออนุญาตให้ถูกต้อง
การดีดบ้านตามกฎหมายจะถือว่าเป็นเรื่องของการดัดแปลงบ้านหรืออาคาร เพราะฉะนั้นก่อนเริ่มทำการใดๆจึงมีความจำเป็นที่ต้องขออนุญาตกับทางเขตที่อยู่อาศัยเสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันหากเกิดปัญหาที่ไม่คาดฝันขึ้น สามารถหาผู้ที่จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายที่ระบุไว้ ซึ่งก็คือวิศวกรออกแบบและผู้ควบคุมงานนั่นเอง
4.ก่อนดีดบ้าน จะดีดอย่างไรให้ปลอดภัย
หลายครั้งที่มักจะมีข่าวไม่ดีเกี่ยวกับการดีดบ้าน เช่น การเกิดอุบัติเหตุบ้านตกลงมาทับคนงานเสียชีวิต หรือดีดบ้านแล้วบ้านพังถล่มลงมาสร้างความเสียหายต่อบ้านทั้งหลังอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วยการใช้ระบบหรือวิธีการเก่าๆหรือคิดวิธีเอง อย่างแม่แรง รอก หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมาใช้ในการดีดบ้าน ดังนั้นการดีดบ้านไม่ควรจ้างบริษัทที่ไม่มีวิศวกรควบคุม เพราะวิศวกรจะมีวิธีการเพิ่มความปลอดภัยโดยสร้างฐานรองรับอุปกรณ์ดีดบ้านอย่างเช่นระบบแม่แรงไฮโดรลิค ซึ่งก่อนที่จะนำมาใช้ต้องตรวจสอบทุกครั้งว่ามีสภาพพร้อมที่จะนำมาใช้งาน อีกทั้งข้อดีของแม่แรงไฮโดรลิคคือ สามารถที่จะยกทุกจุดในบ้านได้พร้อมกัน แล้วยังเช็คระดับความสูง ฐานราก ความลาดเอียงได้อีกด้วย จึงมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ไม่ได้มีแค่มาตรฐานของอุปกรณ์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมไปถึงการคิดคำนวณ วางแผน ความสูงของบ้านเป็นสิ่งสำคัญ
5.เตรียมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากดีดบ้าน
หลังจากดีดบ้านขึ้นแล้วตัวบ้านก็จะสูง สิ่งที่ต้องเตรียมเพิ่มเติมมาก็คือระบบงานบันไดซึ่งต้องออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุ รวมทั้งเรื่องของระบบไฟฟ้า และน้ำ เท่ากับว่าต้องวางระบบใหม่เกือบทั้งหมด เพราะในช่วงที่คนงานเริ่มทำการดีดบ้านช่างจะต้องตัดระบบน้ำ ไฟ ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อทำการดีดบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องเดินสายใหม่จึงต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษเพราะหากเดินระบบได้ไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดปัญหาอย่างไฟช็อตหรือน้ำไหลรั่วซึมได้