ทำความเข้าใจหลักการต่อเติมบ้านขั้นเบื้องต้น
*กรุณาส่งชื่อสินค้า หรือ URL ให้เราด้วย
03 สิงหาคม 2564
ผู้ชม 310 ผู้ชม
ทำความเข้าใจหลักการต่อเติมบ้านขั้นเบื้องต้น
1.การต่อเติมพื้นที่จอดรถ
เริ่มต้นที่ ที่จอดรถด้านนอก โดยทั่วไปแล้วพื้นที่จอดรถจะใช้พื้นซีเมนต์แบบถ่ายน้ำหนักลงบนพื้นดินโดยตรง หรือพื้นแบบ Slab On
Ground เพราะไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มหรือทำคานสำหรับรับน้ำหนัก และราคาถูก นิยมใช้เป็นพื้นโรงจอดรถ, พื้นทางเดินรอบบ้าน
แต่หลักการที่ถูกต้องของการทำพื้น Slab On Ground ต้องเทลงบนพื้นดินแข็งที่สามารถรับน้ำหนักได้อย่างดี ไม่ควรทำลงบนพื้น
ดินที่ถมใหม่ อย่างที่ดินโครงการบ้านจัดสรรโครงการต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการทรุดตัวของพื้นโรงจอดรถตามมาภายหลัง ดังนั้น
การต่อเติมพื้นที่จอดรถโดยใช้การเทพื้น Slab On Ground ต้องตรวจสุขภาพของพื้นดินในบริเวณนั้นให้เรียบร้อยเสียก่อน หาก
เป็นพื้นดินถมใหม่ที่ไม่มีการบดอัดให้เนื้อดินแน่น จับตัวกันดีแล้ว ควรเลือกใช้การตอกเข็มพืดเพื่อเข้าไปเสริมการรับน้ำหนักของพื้นแทน
และไม่ว่าจะใช้โครงสร้างพื้นแบบใดก็ควรเว้นรอยต่อระหว่างพื้นเดิมกับพื้นคอนกรีตชุดใหม่เอาไว้ เพื่อป้องกันการแตกร้าวจากการทรุดตัวที่
ไม่เท่ากันและการขยายตัวเนื่องจากโดนความร้อนอีกด้วย
2.การต่อเติมห้องบนพื้นเฉลียงหรือระเบียงทางเดิน
การเพิ่มน้ำหนักโครงสร้างผนังและหลังคาเป็นส่วนต่อเติมจะมีผลต่อโครงสร้างเดิม เจ้าของบ้านต้องปรึกษากับวิศวกรเรื่องประสิทธิภาพการ
รับน้ำหนักของพื้นเดิมซะก่อน สามารถวางต่อเติมได้เลยหรือไม่ และรองรับได้มากแค่ไหน เพราะหากไม่ตรวจสอบการรับน้ำหนักของพื้นเดิม
อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงในความเสียหายต่อโครงสร้างเดิม แผ่นพื้นแตกร้าว พาไปสู่ปัญหาตามอีกมากมาย จากตั้งต้นว่าจะต่อเติมกลับ
กลายเป็นการเพิ่มเติมปัญหาโครงสร้างให้เราเสียเปล่าๆ นอกจากเรื่องโครงสร้างการรับน้ำหนักเดิมแล้ว อีกจุดหนึ่งที่จะลืมไปไม่ได้เช่นกัน คือ
ตำแหน่งของงานระบบท่อประปา ท่อน้ำทิ้งนั้นอยู่ใต้พื้นเดิมที่เราจะต่อเติมรึป่าว เจ้าของบ้านต้องปรึกษาวิศวกรงานระบบว่าควรจะแก้ไข
ย้ายตำแหน่งไปไว้จุดอื่นหรือไม่อย่างไร เพราะถ้าหากจุดที่เราจะต่อเติมนั้นตรงกับตำแหน่งงานระบบใต้พื้นพอดี การจะกลับไปซ่อมแซมงาน
ระบบในตอนที่ต่อเติมห้องใหม่ทับไปแล้วจะเป็นเรื่องยุ่งยากเอาเสียมากๆ เลยทีเดียว
3.การต่อเติมห้องครัว
คล้ายคลึงกับการต่อเติมห้องบนพื้นเฉลียงหรือระเบียงทางเดิน คือ ต้องตรวจสอบทั้งประสิทธิภาพการรับน้ำหนักของโครงสร้างและงานระบบ
ท่อประปา ท่อน้ำทิ้งต่างๆ ที่อยู่ด้านล่างพื้นให้ดี ส่วนสำคัญที่ควรเน้นย้ำไว้เสมอ คือ การแยกโครงสร้างส่วนต่อเติมชุดใหม่ออกจากชุดโครง
สร้างเดิม ทั้งพื้น ผนัง หลังคา ด้วยการตอกเสาเข็มแยกชุดกัน ระบบโครงสร้างที่ไม่มีเชื่อมต่อกับของเดิมเลยแม้แต่จุดเดียว เว้นรอยต่อระ
หว่างโครงสร้างทั้ง 2 ชุดเอาไว้แล้วใช้ยาแนวซิลิโคน หรือระบบครอบผนังเพื่อรักษาความยืดหยุ่นของรอยต่อ ป้องกันความเสียหายจากโครง
สร้างทรุดตัวไม่เท่ากัน สำหรับงานท่อระบบในห้องครัวควรใช้วิธีการเดินท่อบนพื้นห้อง ตกแต่งให้สวยงามและไม่เกะกะสวยตาด้วยฉากกั้นหรือ
เคาท์เตอร์ปิดทับ มีข้อดี คือ เจ้าของบ้านหมดห่วงเรื่องโครงสร้างทรุดตัวลงก็จะไม่สร้างความเสียหาย และสามารถสังเกตเห็นหรือทำการซ่อม
แซมได้ง่าย
สร้างบ้านชั้นเดียว